Translate

Total Pageviews

Showing posts with label LearnThai. Show all posts
Showing posts with label LearnThai. Show all posts

Thai constitution

 

คู่มือฉบับสมบูรณ์เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้น - เคล็ดลับ คำแนะนำ แหล่งข้อมูล และวิธีการเริ่มต้น

คำอธิบายภาษาไทย (คำสำคัญ ภาษาไทย อักษรไทย เรียนอักษรไทย)

วิธีการเริ่มต้นการเรียนรู้พื้นฐานของไวยากรณ์ภาษาไทย

คีย์เวิร์ด: เรียนภาษาไทยง่าย ๆ, เรียนเคล็ดลับไวยากรณ์ไทย

กลยุทธ์ที่ดีสำหรับการเรียนภาษาไทยคืออะไร?

คีย์เวิร์ด: งานติวเตอร์พาร์ทไทม์ในกรุงเทพ สอนภาษาอังกฤษ & เรียนภาษาไทย ระดับเริ่มต้น

เคล็ดลับในการแลกเปลี่ยนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยกับพันธมิตรแลกเปลี่ยนภาษาท้องถิ่น

คีย์เวิร์ด: คู่แลกเปลี่ยนภาษาในกรุงเทพ, แลกเปลี่ยนภาษาในกรุงเทพ

ข้อผิดพลาดทั่วไปบางประการเมื่อพูดภาษาไทยมีอะไรบ้าง

บทสรุป: วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้และพูดภาษาไทยอย่างรวดเร็ว

คู่มือฉบับสมบูรณ์เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้นและวิธีการเริ่มต้นใช้งานวันนี้

บทนำ

คีย์เวิร์ด: ไทย, เมืองไทย, ภาษาไต้หวัน

ขั้นตอนแรกในการเรียนรู้ภาษาไทย: ระดับภาษาใดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

คำสำคัญ: ภาษาไต้หวัน, ระดับภาษา, แหล่งเรียนรู้ภาษาไทย, คู่มือภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้น

วิธีการเรียนรู้อักษรไทยและการอ่านอักษรโรมัน

คำสำคัญ: อักษรไต้หวัน อ่านภาษาไทย

ทำความเข้าใจว่าการพูดภาษาไทยช่วยให้คุณพูดคล่องได้อย่างไร

คีย์เวิร์ด: คุยกับคนไทยคนในประเทศนี้พูดยังไง) _____ ว่าอย่างไร? (

ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จำแนกตามจังหวัด และมีการใช้ภาษาถิ่นใดบ้าง

คำสำคัญ: ภูมิภาคต่างๆ ของไต้หวัน แยกตามจังหวัด ภาษาถิ่นที่ใช้ในแต่ละภูมิภาค

คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนภาษาไทยใน 1 ชั่วโมง: แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น

บทนำ

คีย์เวิร์ด: อ่าน, ไทย, คู่มือเริ่มต้น

ภาษาไทยคืออะไร?

คีย์เวิร์ด: ไทย อักษรไทย

วิธีการเรียนภาษาไทยฟรี

เรียนภาษาไทยออนไลน์ฟรีที่ไหนดี?

คีย์เวิร์ด: เรียนภาษาไทยออนไลน์ฟรี เรียนภาษาไทยกับอารียา เรียนภาษาไทยจากที่บ้าน

ทำไมต้องเรียนอักษรไทย?

คีย์เวิร์ด: อักษรไทย ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

เอกสารอ้างอิง กฎคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาไทย

คีย์เวิร์ด: รายการคำและประโยคภาษาไทย กฎไวยากรณ์และคำศัพท์

บทสรุป (คำสำคัญ สรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน)

รัฐธรรมนูญไทยคืออะไรและมีหลักการสำคัญอะไรบ้าง? (คำสำคัญ: รัฐธรรมนูญไทย กฎหมายรัฐธรรมนูญไทย รัฐธรรมนูญไทย)

วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยตลอดร่างฉบับต่างๆ (คำสำคัญ ประวัติรัฐธรรมนูญไทย วิวัฒนาการรัฐธรรมนูญไทย ร่างประวัติศาสตร์)

จะหาคำแปลภาษาอังกฤษของรัฐธรรมนูญไทยได้ที่ไหน?

คีย์เวิร์ด: คำแปลภาษาอังกฤษของรัฐธรรมนูญไทย, ฉบับแปลของรัฐธรรมนูญไทย

จะเข้าใจ/ตีความข้อกำหนดที่ใช้ในรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันได้อย่างไร?

คำสำคัญ: วิธีอ่าน/ตีความข้อกำหนดรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน

คู่มือรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์และบทบาทของพระมหากษัตริย์คืออะไร?

บทนำ: รากฐานของประชาธิปไตยในประเทศไทย

คำสำคัญ: รัฐธรรมนูญไทย, พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร, การเลือกตั้งในประเทศไทยเป็นอย่างไร

ลักษณะเด่นของรัฐธรรมนูญไทยคืออะไร?

คำสำคัญ: รัฐธรรมนูญปัจจุบัน, รัฐธรรมนูญในอนาคต, บทบาทของพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย, พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ

บทบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในประเทศไทย

คำสำคัญ: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย

ที่มาและการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย

คีย์เวิร์ด: ที่มาของบล็อกโพสต์เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย, ที่มาของเนื้อหาในแอพเขียน ai

รัฐธรรมนูญไทยคืออะไรและส่งผลต่อชีวิตคุณอย่างไร? (คำสำคัญ: รัฐธรรมนูญไทย คืออะไร, รัฐธรรมนูญไทย, รัฐธรรมนูญของประเทศไทย)

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยกับผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง (คำสำคัญ: เสถียรภาพการเมืองไทย ความไม่มั่นคงทางการเมืองในประเทศไทย ระบอบรัฐธรรมนูญของประเทศไทย)

ผลกระทบของรัฐธรรมนูญไทยต่อเศรษฐกิจ

คำสำคัญ: ผลกระทบของ ai ต่อเศรษฐกิจ กฎหมาย ai และเศรษฐศาสตร์

ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยอธิบายเพื่อ Dummies

คำสำคัญ: ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญในประเทศไทย, ระบอบราชาธิปไตยทำงานอย่างไร

Learning Thai For Beginners

 

คู่มือฉบับสมบูรณ์เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้น - เคล็ดลับ คำแนะนำ แหล่งข้อมูล และวิธีการเริ่มต้น

คำอธิบายภาษาไทย (คำสำคัญ ภาษาไทย อักษรไทย เรียนอักษรไทย)

วิธีการเริ่มต้นการเรียนรู้พื้นฐานของไวยากรณ์ภาษาไทย

คีย์เวิร์ด: เรียนภาษาไทยง่าย ๆ, เรียนเคล็ดลับไวยากรณ์ไทย

กลยุทธ์ที่ดีสำหรับการเรียนภาษาไทยคืออะไร?

คีย์เวิร์ด: งานติวเตอร์พาร์ทไทม์ในกรุงเทพ สอนภาษาอังกฤษ & เรียนภาษาไทย ระดับเริ่มต้น

เคล็ดลับในการแลกเปลี่ยนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยกับพันธมิตรแลกเปลี่ยนภาษาท้องถิ่น

คีย์เวิร์ด: คู่แลกเปลี่ยนภาษาในกรุงเทพ, แลกเปลี่ยนภาษาในกรุงเทพ

ข้อผิดพลาดทั่วไปบางประการเมื่อพูดภาษาไทยมีอะไรบ้าง

บทสรุป: วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้และพูดภาษาไทยอย่างรวดเร็ว


คู่มือฉบับสมบูรณ์เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้นและวิธีการเริ่มต้นใช้งานวันนี้

บทนำ

คีย์เวิร์ด: ไทย, เมืองไทย, ภาษาไต้หวัน

ขั้นตอนแรกในการเรียนรู้ภาษาไทย: ระดับภาษาใดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

คำสำคัญ: ภาษาไต้หวัน, ระดับภาษา, แหล่งเรียนรู้ภาษาไทย, คู่มือภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้น

วิธีการเรียนรู้อักษรไทยและการอ่านอักษรโรมัน

คำสำคัญ: อักษรไต้หวัน อ่านภาษาไทย

ทำความเข้าใจว่าการพูดภาษาไทยช่วยให้คุณพูดคล่องได้อย่างไร

คีย์เวิร์ด: คุยกับคนไทยคนในประเทศนี้พูดยังไง) _____ ว่าอย่างไร? (

ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จำแนกตามจังหวัด และมีการใช้ภาษาถิ่นใดบ้าง

คำสำคัญ: ภูมิภาคต่างๆ ของไต้หวัน แยกตามจังหวัด ภาษาถิ่นที่ใช้ในแต่ละภูมิภาค

คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนภาษาไทยใน 1 ชั่วโมง: แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น

บทนำ

คีย์เวิร์ด: อ่าน, ไทย, คู่มือเริ่มต้น

ภาษาไทยคืออะไร?

คีย์เวิร์ด: ไทย อักษรไทย

วิธีการเรียนภาษาไทยฟรี

เรียนภาษาไทยออนไลน์ฟรีที่ไหนดี?

คีย์เวิร์ด: เรียนภาษาไทยออนไลน์ฟรี เรียนภาษาไทยกับอารียา เรียนภาษาไทยจากที่บ้าน

ทำไมต้องเรียนอักษรไทย?

คีย์เวิร์ด: อักษรไทย ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

เอกสารอ้างอิง กฎคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาไทย

คีย์เวิร์ด: รายการคำและประโยคภาษาไทย กฎไวยากรณ์และคำศัพท์

บทสรุป (คำสำคัญ สรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน)

ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ ภาคภาษาไทย

ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ ภาคภาษาไทย วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน 2565 • ยูเครนเตือนประชาชนอพยพด่วน! หลังรัสเซียระดมโจมตีภาคตะวันออกรอบใหม่ • ปูตินแต่งตั้งผู้บัญชาการกองทัพคนใหม่ดูแลสงครามยูเครน • ชาวศรีลังกาบุกยึดสำนักงานประธานาธิบดีสองวันติดต่อกัน • ไขปัญหา: โควิดจะกลายพันธุ์ในสัตว์แล้วระบาดกลับสู่มนุษย์อีกหรือไม่?

รูปสระ

๑. ะ (วิสรรชนีย์) ใช้เป็นสระอะเมื่ออยู่หลังพยัญชนะ เช่น ปะ กะ และใช้ประสมกับสระรูปอื่น ให้เป็นสระอื่น เช่น เตะ แตะ โต๊ะ เอียะ อัวะ


๒. -ั (ไม้ผัด, ไม้หันอากาศ) ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนเสียงสระอะเมื่อมีตัวสะกด เช่น มัด และประสมกับสระรูปอื่น เช่น ตัว ผัวะ


๓. -็ (ไม้ไต่คู้) ใช้ เขียนไว้บนพยัญชนะที่ประสมกับรัสสระที่มีวิสรรชนีย์ เพื่อแทนวิสรรชนีย์เมื่อมีตัวสะกด เช่น เจ็ด (เจะ+ด) และใช้แทนสระเอาะที่มีวรรณยุกต์โท ที่มีคำเดียวคือคำว่า ก็ (เก้าะ )


๔. า (ลากข้าง) ใช้เป็นสระอา สำหรับเขียนหลังพยัญชนะและใช้ประสมกับรูปสระรูปอื่นเป็นสระ เอาะ อำ เอา เช่น เกาะ ลำเพา


๕. -ิ (พินทุ์อิ) ใช้เป็นสระอิ สำหรับเขียนไว้บนพยัญชนะ เช่น ซิ ผลิ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระ อี อือ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เช่น ผี คือ เกี๊ยะ เสีย เสือ


๖. -่ (ฝนทอง) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิ ทำให้เป็นสระอี เช่น ผี มี ปี


๗. " (ฟันหนู) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิเป็นสระอือ เอือะ เอือ เช่น มือ เสือ


๘. -ํ (หยาดน้ำค้าง, นฤคหิต) ใช้เขียนไว้ข้างบนลากข้าง ทำให้เป็นสระอำ ( ำ) และเขียนบนพินทุ์อิเป็นสระอึ เช่น จำนำ ปรึกษา ศึกษา


๙. -ุ (ตีนเหยียด) ใช้เป็นสระอุ เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะ เช่น ดุ


๑๐. -ู (ตีนคู้) ใช้เป็นสระอู เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะต้น เช่น ปู งู ดู


๑๑. เ- (ไม้หน้า) ใช้เป็นสระเอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น เกเร ถ้าใช้สองรูปด้วยกันจะเป็นสระแอ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระอื่น เช่น เอือ เอา เออะ เอียะ เอีย เอาะ แอะ


๑๒. ใ- (ไม้ม้วน) ใช้เป็นสระใอ สำหรับเขียนไว้หน้าพยัญชนะ เช่น ใคร ใต้ ฯลฯ


๑๓. ไ- (ไม้มลาย) ใช้เป็นสระไอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไฟไหม้ ฯลฯ


๑๔. โ- (ไม้โอ) ใช้เป็นสระโอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น โมโห ใช้ประสมกับวิสรรชนีย์ทำให้เป็นสระ โอะ เช่น โละ โปะ


๑๕. ฤ (ตัวรึ)ใช้ เป็นสระ ฤ จะใช้โดดๆ เช่น ฤดี หรือจะใช้ประสมกับพยัญชนะ (ต้องเขียนไว้หลังพยัญชนะ) และออกเสียงสระได้หลายเสียง ออกเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณา ออกเสียงเป็น รึ เช่น ฤดู ฤทัย พฤกษ์ ออกเสียงเป็น เรอ เช่น ฤกษ์


๑๖. ฤๅ (ตัวรือ) ใช้เป็นสระ ฤๅ ใช้โดดๆ เช่น ฤๅไม่ หรือใช้เป็นพยางค์หน้าของคำ เช่น ฤๅดี


๑๗. ฦ (ตัวลึ) ใช้เป็นสระ ฦ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)


๑๘ . ฦๅ (ตัวลือ) ใช้เป็นสระ ฦๅ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)


๑๙. ย (ตัวยอ) ใช้ประสมกับสูปสระรูปอื่น ทำให้เป็นสระอื่น เช่น สระเอีย เอียะ


๒๐. ว (ตัววอ) ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เป็นสระ อัวะ อัว


๒๑. อ (ตัวออ) ใช้เขียนหลังพยัญชนะเป็นสระ ออ และประสมกับรูปสระรูปอื่น เป็นสระ อือ เออะ เอือะ เอือ


วิธีใช้สระ

เมื่อพยัญชนะประสมกับสระและมีตัวสะกด จะมีวิธีใช้สระหลายวิธี ดังนี้


๑. คงรูป คือเขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -ิ, -ี, -ึ, -ุ, -ู , เ- , แ- , โ- , -อ , เ -ีย , เ -อ


ก + -า + ง = กาง
ด + - ิ + น = ดิน
ห + -อ + ม = หอม
ม + แ- + ว = แมว


๒. แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ , เ-ะ , แ-ะ , เ-อ


ร + -ะ + บ = รับ (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ)
ล + เ-ะ + ก = เล็ก (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม่ไต่คู้)
ข + แ-ะ + ง = แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)
ด + เ-อ + น = เดิน (แปลงตัวออเป็นพินทุ์อิ)


๓. ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลด
รู
นั้น การลดปมี ๒ วิธีคือ
๓.๑ ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ เช่น
บ + โ-ะ + ก = บก
ก + -อ + ร = กร (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)
๓.๒ ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น
ค + เ-อ + ย = เคย (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า เช่น เชย เชย เลย เกย เอย เนย เงย )
ส + - ั ว + น = สวน (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว เช่น กวน ลวน นวล ชวน ควร มวน อวน หวน)


๔. เติมรูป คือ เพิ่มรูปนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ -ื ที่ใช้ ในแม่ ก กา จะเติม -อ เช่น

๕. ลดรูปและแปลงรูป


ก + เ-าะ + -้ = ก็
ล + เ-าะ + ก = ล็อก
สระที่มีตำแหน่งอยู่บนหรือล่างของพยัญชนะ ต้องเขียนตรงกับเส้นหลังของพยัญชนะต้นเสมอ



ตำแหน่งรูปสระ


รูปสระ ๒๑ รูป เมื่อประสมกับพยัญชนะต้น จะวางไว้ในตำแหน่งที่ต่าง ๆ ดังนี้
๑. สระหน้า เป็นสระที่วางอยู่หน้าพยัญชนะต้น เช่น เ- แ- โ- ไ- ใ-
ตัวอย่างเช่น เกเร แม่ แก่ โต ไม้ ใช้ ใกล้


๒. สระหลัง เป็นสระที่วางอยู่หลังพยัญชนะต้น เช่น -ะ -า -อ ฤ -ว
ตัวอย่างเช่น พระ มารดา พ่อ ฤกษ์ กวน


๓. สระบนหรือสระเหนือ เป็นสระที่วางอยู่บนพยัญชนะต้น เช่น -ั -ิ -ี -ึ -ื -็
ตัวอย่างเช่น กัด กิน ขีด ปรึกษา ขืน ก็


๔. สระใต้หรือสระล่าง เป็นสระที่วางไว้ใต้พยัญชนะต้น เช่น -ุ -ู ตัวอย่างเช่น หมู หนู ดุ พลุ


๕. สระหน้าและหลัง เป็นสระที่วางไว้หน้าและหลังพยัญชนะต้น เช่น เ-า แ-ะ โ-ะ เ-ะ เ-าะ เ-อะ เ-อ
ตัวอย่างเช่น เมาเหล้า เจอะเจอ โต๊ะ เละเทะ เกาะเงาะเยอะแยะ


๖. สระบนและหลัง เป็นสระที่วางไว้บนและหลังพยัญชนะต้น เช่น -ัวะ -ัว -ำ
ตัวอย่างเช่น ลัวะ กลัว จำนำ


๗. สระหน้า บนและหลัง เป็นสระที่วางอยู่หน้า บน และหลังพยัญชนะต้น เช่น เ-ียะ เ-ย เ-ือะ เ-ือ
ตัวอย่างเช่น เกี๊ยะ เมีย เสือ


๘. สระหน้าและบน เป็นสระที่วางไว้หน้าและบนพยัญชนะต้น เช่น เ-ิ เ-็
ตัวอย่างเช่น เกิด เกิน เป็ด เช็ด


๙. สระที่อยู่ได้ตามลำพัง ไม่ต้องประสมกับพยัญชนะต้น เช่น ฤ ฤ

การใช้รูปสระ

สระ ๒๑ รูป ใช้เขียนแทนเสียงสระ ๓๒ เสียง บางเสียงใช้สระรูปเดียว บางเสียงใช้สระหลายรูปประกอบกันดังนี้ี้



ช่วยจำ

หลักภาษาไทย

1. สระ

รูปสระมี 21 รูป และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
1. ะ วิสรรชนีย์ 12. ใ ไม้ม้วน

2. อั ไม้หันอากาศ 13. ไ ไม้มลาย

3. อ็ ไม้ไต่คู้ 14. โ ไม้โอ

4. า ลากข้าง 15. อ ตัว ออ

5. อิ พินทุ์อิ 16. ย ตัว ยอ

6. ‘ ฝนทอง 17. ว ตัว วอ

7. อํ นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง 18. ฤ ตัว รึ

8. ” ฟันหนู 19. ฤๅ ตัว รือ

9. อุ ตีนเหยียด 20. ฦ ตัว ลึ

10. อู ตีนคู้ 21.ฦๅ ตัวลือ 21. ฦา ตัว ลือ

11. เ ไม้หน้า
เสียงสระเมื่อนำรูปสระทั้ง 21 รูป มารวมกัน จะได้สระทั้งหมด 32 เสียง จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- สระแท้ มี 18 เสียง แบ่งออกเป็น

สระเสียงสั้น ได้แก่ อะ อิ อึ อึ เอะ เออะ โอะ แอะ เอาะ
สระเสียงยาว ได้แก่ อา อี อื อู เอ เออ โอ แอ ออ
- สระประสม มี 6 เสียง ได้แก่
เอีย เกิดจากเสียง -ี + -า เอีย

เอียะ เกิดจากเสียง -ิ + -ะ เอียะ

เอือ เกิดจากเสียง -ื + -า เอือ

เอือะ เกิดจากเสียง -ึ + -า เอือะ

อัว เกิดจากเสียง -ู + -า อัว

อัวะ เกิดจากเสียง -ุ + -ะ อัวะ
- สระลอย มี 8 เสียง ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦ อำ ไอ ใอ เอา

2. วรรณยุกต์

คือ เครื่องหมายที่ใช้กำกับคำเพื่อให้มีระดับเสียงต่างกัน ภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์มีเเต่สระกับพยัญชนะก็พอเเล้วจะอ่านสูงๆ ต่ำๆ อย่างไรก็เเล้วเเต่ในภาษาไทยนิยมใช้วรรณยุกต์ด้วย จึงต้องมีอักษรวรรณยุกต์บังคับอีกต่อหนึ่ง จะอ่านเป็นสูงๆ ต่ำๆ ตามอำเภอใจไม่ได้
ประโยชน์ของวรรณยุกต์

ปา หมายถึง ขว้างปา

ป่า หมายถึง ที่มีต้นไม้ภูเขา และสัตว์

ป้า หมายถึง พี่ของพ่อหรือแม่

ป๊า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา

ป๋า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียงเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง

เสียงสามัญ คือ เสียงกลางๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
การผันวรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึง วรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่บนอักษรมีอยู่ 4 รูป คือ วรรณยุกต์เอก, วรรณยุกต์โท, วรรณยุกต์ตรี และวรรณยุกต์จัตวา โดย ลำดับและให้เขียนไว้บนอักษรตอนสุดท้าย เช่น ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้บนอักษรตัวที่ 2 เช่น ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
รูป วรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือไม้เอกกับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปกากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทในปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือน ซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ – นายสำเภา, บั๋นจู๊ – พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
ใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์

พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้

ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา

แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2. วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่ เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับ อยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
วรรณยุกต์ ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูป คือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกพื้นเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 2 ดังนี้ (พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์)

คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ
คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น หรอเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ

คำตายผันได้ 3 คำใช้วรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2. คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
วิธีผันอักษร 3 หมู่ที่เรียกว่า ไตรยางศ์นั้นใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่างๆ กันดังนี้ อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์เอก และโท คำเป็นผันได้ 3 คำ คำตายผันได้ 2 คำ
พยัญชนะเสียงสูง
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตายพื้น เสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ อักษรกลางผันด้วยวรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์โท วรรณยุกต์ตรี วรรณยุกต์จัตวา
พยัญชนะเสียงกลาง
คำเป็นผันได้ 5 คำ

พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว

ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว

ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว

ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว

ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตายผันได้ 4 คำ คำเป็น

พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว

ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว

ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว

ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว

ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ

ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ

ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ

ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ
อักษรต่ำผันด้วยวรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์โท คำเป็นผันได้ 3 คำ

พยัญชนะเสียงต่ำ
คำเป็น

พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว

ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว

ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้า
คำตาย

สระสั้นพื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ

ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ

ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
สระยาวพื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ

ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ

ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
จะ เห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์เสมอ แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่ารูปวรรณยุกต์หนึ่งขั้น เว้นไว้แต่วรรณยุกต์จัตวาซึ่งเสียงคงเป็นจัตวาตามรูปวรรณยุกต์ เพราะไม่มีเสียงใดที่จะสูงไปกว่านั้นอีก เพราะเหตุที่อักษรต่ำมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ จึงมักทำให้เกิดความงง ในเวลาต้องการจะทราบเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริง แต่ถ้าเข้าใจวิธีผันอักษรกลางเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเทียบเสียงได้โดยอาศัย อักษรกลางเป็นหลัก

3. พยัญชนะ
พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 รูป

ก ข ฃ ค ฅ

ฆ ง จ ฉ ช

ซ ฌ ญ ฎ ฏ

ฐ ฑ ฒ ณ ด

ต ถ ท ธ น

บ ป ผ ฝ พ

ฟ ภ ม ย ร

ล ว ศ ษ ส

ห ฬ อ ฮ
พยัญชนะมี 21 เสียง

1. ก

2. ข ฃ ค ต ฆ

3. ง

4. จ

5. ฉ ช ฌ

6. ซ ศ ษ ส

7. ญ ย

8. ฎ ด กับเสียง

9. ฑ บางคำ

10. ฏ ต

11. ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ

12. น ณ

13. บ

14. ป

15. ผ พ ภ

16. ฝ ฟ

17. ม

18. ร

19. ล ฬ

20. ว

21. ห ฮ

22. เสียง อ ไม่นับ


ไตรยางศ์

ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้นไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่า สามส่วน การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์

เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
พยัญชนะเสียงสูงมี 11 ตัว เเละผันได้เสียงที่ 5, 2 เเละ 3

อักษรสูงหมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับสูง มีทั้งหมด 11 ตัว

วิธีท่องจำง่ายๆ : ผ ฝ ถ ฐ ข ฃ ศ ษ ส ห ฉ (ผี ฝาก ถุง ขาว สาร ให้ ฉัน)
พยัญชนะเสียงกลางมี 24 ตัว เเละผันได้ทั้งหมด 5 เสียง

อักษรกลางหมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว

วิธีท่องจำง่ายๆ : ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ (ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง) การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลางผันได้ครบ 5 เสียง ใช้วรรณยุกต์ได้ 4 รูป
พยัญชนะเสียงต่ำมี 9 ตัว เเละผันได้เสียงที่ 1, 3 เเละ 4

อักษรต่ำหมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัว

• ต่ำคู่ มีเสียงคู่อักษรสูง 14 ตัวพ ภ ฟ ฑ ฒ ท ธ ค ต ฆ ซ ฮ ช ฌ

• ต่ำเดี่ยว(ไร้คู่) 10 ตัว
วิธีท่องจำง่ายๆ :ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล (งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก)
หน้าที่ของพยัญชนะ

1. เป็นพยัญชนะต้นกา

2. เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์ ก ป ส กล ส พ เป็นพยัญชนะต้น

3. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)เกิด เป็น ชาย หมาย รัก นี้ หนัก อก (พยัญชนะที่ขีดเส้นใต้เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์หรือท้ายคำ เรียกว่าตัวสะกด)4. ทำหน้าที่เป็นอักษรควบ

5. ทำหน้าที่เป็นอักษรนำ-อักษรตาม

6. ทำหน้าที่เป็นเป็นสระ (อ ว ย ร)

7. ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์
พยัญชนะตัวสะกด

พยัญชนะตัวสะกดมีทั้งสิ้น 39 ตัวเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยแบ่งเป็น 8 เสียงเรียกว่ามาตราตัวสะกด 8 มาตราดังนี้

• แม่กก ออกเสียงสะกด ก ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เช่น นก เลข โรค เมฆ

• แม่กด ออกเสียงสะกด ด ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น เปิด จิต รถ บาท โกรธ กฎ ปรากฏ เท็จ บงกช ก๊าซ อากาศ พิเศษ โอกาส อิฐ

• แม่กบ ออกเสียงสะกด บ ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ

• แม่กน ออกเสียงสะกด น ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกดเช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ

• แม่กง ออกเสียงสะกด ง ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกดเช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง

• แม่กม ออกเสียงสะกด ม ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกดเช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม แยม

• แม่เกย ออกเสียงสะกด ย ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกดเช่น ยาย เนย เคย เลย คุย

• แม่เกอว ออกเสียงสะกด ว ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกดเช่น สิว หิว วัว
พยัญชนะควบกล้ำ

พยัญชนะควบกล้ำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมี ร ล ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

• ควบกล้ำแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น

ควบด้วย รกรอบ กราบ เกรง ครอบครัว
ควบด้วย ลกล้วย กลีบ ไกล แปลง
ควบด้วย วไกว แกว่ง ควาย ขว้าง

• ควบกล้ำไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว เช่นจริง สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (จิง) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี)
ตัวอย่างคำอักษรควบแท้และไม่แท้

กราดเกรี้ยวเกลียวคลื่นคล้าย

ปลุกปลอบควายคลายโกรธเกรี้ยว

ตรวจตรากล้าจริงเพรียว

ขวักไขว่คว่ำกล้ำกลบคลอง

ทรายเศร้าเคล้าคลึงศรี

ทราบโทรมตรีปลีกล้วยพร่อง

ครึ้มครึกตริตรึกตรอง

เปล่าพลิกกลองแปรเปลี่ยนแปลง
อักษรนำ-อักษรตาม

อักษรนำคือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำแบ่งตามลักษณะการอ่านได้ 2 ชนิด คือ

• อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระอะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก เช่น

ขยับ ขะ-หยับ ข อักษรสูง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห

ฉลาม ฉะ-หลาม ฉ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห

ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต

สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส

ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
ตัวอย่างคำอักษรนำ-อักษรตาม

ขยะขยาดตลาดเสนอ … ฉลาดเสมอเฉลิมไฉน

สนิมสนองฉลองไสว … เถลไถลหวาดหวั่นแสวง

อย่าอยู่อย่างอยากเผยอ … ตลิ่งตลบเสนอถลอกแถลง

จมูกถนัดขยะแขยง … สวะสวิงหน่ายแหนงขยับขยาย

หรูหราหรุบหรับ(สา)หร่าย … สลับสลายเสนาะสนุกสนาน

สลิดเสลดสลัดสมาน … หวังหลอกเหลนหลานหลากหลาย
สระ (อ ว ย ร)เช่น

สรรค์ รร ทำหน้าที่แทนวิสรรชนีย์ หรือสระอะ

กวน ว เป็นสระอัวลดรูป

เสีย ย เป็นส่วนประกอบของสระเอีย

ขอ เสือ มือ อ เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ
ตัวการันต์เช่น

จันทร์ ทร์ เป็นตัวการันต์

ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์

ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์
พยัญชนะไทยที่พึงสังเกตและควรจดจำ

อักษร ฃนักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฃ และสันนิษฐานว่า ฃ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ข โดยมีลักษณะเสียงเป็นพยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆสูญหายไป โดยออกเสียง ข แทน เป็นที่น่าสังเกตว่า ฃ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า “ขวด” ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย ฃ (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรกๆที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง
อักษร ฅเป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็นมักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน)
อักษร ฑในคำไทยบางคำอ่านออกเสียงเป็น /ท/ อย่างคำว่า มณโฑ (มน-โท) บุณฑริก (บุน-ทะ-ริก) แต่บางครั้งออกเสียงเป็น /ด/ เช่น มณฑป (มน-ดบ) บัณฑิต (บัน-ดิด)
อักษร ณตัวเดียวสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ ณ อ่านว่า นะ แปลว่า “ที่” เป็นคำบุพบท
อักษร บตัวเดียวแล้วเติมไม้เอก โดยไม่มีสระสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ บ่ อ่านว่า บ่อ หรือ เบาะ แปลว่า “ไม่” เป็นคำพิเศษที่แสดงถึงความเป็นตรงกันข้าม
อักษร รที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น คำไทยบางคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต จะมี ร ซ้อนกันสองตัวเรียกว่า ร หัน (รร) เมื่อตามหลังพยัญชนะต้นจะออกเสียงคล้ายมีสระอะ และสะกดด้วยแม่กนหรือพยัญชนะตัวถัดไป เช่น บรรพชา (บัน-พะ-ชา) สรรพ (สับ) ธรรมะ (ทัม-มะ) เป็นต้น
อักษร วรูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็น สระ อัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว
อักษร หจะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
อักษร ฬปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ
อักษร อรูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ แต่ในทางภาษาศาสตร์ ถือว่า อ นั้น เป็นพยัญชนะปิดหรือหยุด

อักษร ฮจะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด
4. คำเป็น – คำตาย และ คำครุ – คำลหุ
คำเป็นหมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ


คำตายหมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา แต่ยกเว้นสระอำ ไอ ใอ เอา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ


ครุ (เอก)คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง 4 คือ สระอำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ
ครุ (เสียงหนัก)เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กา และมีตัวสะกดรวมทั้งประสมด้วยสระอำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก
คำครุ แปลว่า เสียงหนัก ประกอบด้วย


พยางค์ที่มีสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด เช่น มาหา พารา
พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้ง 8 แม่ เช่น รัก ชิด ชอบ ฯลฯ
พยางค์ที่มีสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา จำ ใจ ไป


ลหุ (โท)คือ พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้น(รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ
ลหุ (เสียงเบา)คำที่มีเสียงเบาเป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ

คำลหุ แปลว่า เสียงเบา ประกอบด้วย

พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น มะลิ ชิชะ ก็ เถอะ
พยางค์ที่มีตัวพยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ บ ธ


ครุ-ลหุ มีสัญลักษณ์แทนดังนี้ั

เอก คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลง และร่าย ใช้เอกแทนได้ เช่น พ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ
โท คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ
เอก-โท ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์ เอก โท นิยมใช้กับคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง

5. คำสมาส – คำสนธิ
คำสมาส- การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤตตั้งแต่ 2 คำมาต่อกันหรือรวมกัน
ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้

1. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส

ตัวอย่างคำสมาส: บาลี + บาลี เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล

สันสกฤต + สันสกฤต เช่น แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม

บาลี + สันสกฤต, สันสกฤต + บาลี เช่น หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา
2. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น

วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม

สาร + คดี = สารคดี

พิพิธ + ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์

กาฬ + ปักษ์ = กาฬปักษ์

ทิพย + เนตร = ทิพยเนตร

โลก + บาล = โลกบาล

เสรี + ภาพ = เสรีภาพ

สังฆ + นายก = สังฆนายก
3. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น

ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด

เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด

เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน

รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี

เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา
4. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น

ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)

หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ)

คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู)

สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว)= สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)
5. คำสมาสบางคำเรียงลำดับคำอย่างไทย คือ เรียงต้นศัพท์ไว้หน้า ศัพท์ประกอบไว้หลัง การเขียนคำสมาสเหล่านี้ไม่ประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ แต่เมื่ออ่านจะออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น

บุตรภรรยา (บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา) = บุตรและภรรยา
6. คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น

กาลสมัย ( กาน- ละ – สะ -ไหม )
7. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า “พระ” ที่แผลงมาจาก “วร” ประกอบข้างหน้า จัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น พระโอรส พระอรหันต์
8. คำสมาสบางพวกจะมีลักษณะรูปคำรูปหนึ่งคล้ายกัน เช่น

– คำที่ลงท้ายด้วยศาสตร์ เช่น นิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์

- คำที่ลงท้ายด้วยภัย เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย

– คำที่ลงท้ายด้วยกรรม เช่น นิติกรรม นวัตกรรม กสิกรรม
คำสนธิ-คำสนธิในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี – สันสกฤตมาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
1. สระสนธิ คือ การกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น

วิทย+อาลัย = วิทยาลัย

พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ

มหา+อรรณพ = มหรรณพ

นาค+อินทร์ = นาคินทร์

มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์

พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท

รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส

ธนู+อาคม = ธันวาคม
2. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น

รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน

มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)

ทุสฺ + ชน = ทุรชน

นิสฺ + ภย = นิรภัย
3. นฤคหิตสนธิ ได้แก่ การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิต หรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิตกับคำอื่นๆ เช่น

สํ + อุทัย = สมุทัย

สํ + อาคม = สมาคม

สํ + ขาร = สังขาร

สํ + คม = สังคม

สํ + หาร = สังหาร

สํ + วร = สังวร

6. คำบาลี – สันสกฤต
ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต

ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ เช่น ลึงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก
โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสีย

หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ

2.หน่วยเสียงพยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง
หน เวยเสียงภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสิงภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค

วิธีสังเกตคำบาลี

1. สังเกตจากพยัญชนะ ตัวสะกด และตัวตาม

ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์
ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น

คำในภาษาบาลีจะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้


แถวที่
1
2
3
4
5

วรรค กะ






วรรค จะ








วรรค ฏะ






วรรค ตะ






วรรค ปะ






เศษวรรค
ย ร
ล ว
ส ห
ฬ อัง

มีหลักสังเกต ดังนี้

ก. พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)

ข. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น

ค. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่นอัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คพภ(ครรภ์)

ง. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกดทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น

จ. พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ “ฬ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬอาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น

3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่นๆบางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น


ภาษาบาลี
ภาษาไทย

รัฎฐ
รัฐ

ทิฎฐิ
ทิฐิ

อัฎฐิ
อัฐิ

วัฑฒนะ
วัฒนะ

ปุญญ
บุญ

วิชชา
วิชา

สัตต
สัต

เวชช
เวช

กิจจ
กิจ

เขตต
เขต

นิสสิต
นิสิต

นิสสัย
นิสัย

ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์ กิจจะลักษณะ เป็นต้น
วิธีสังเกตคำสันสกฤต

1. พยัญชนะสันกฤตมี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัวคือ ศ, ษฉะนั้น จึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ
2. ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน ภาษาสันสกฤตตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น
3. สังเกตจากสระ สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา

ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น
4. สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่นจักร อัคร บุตร สตรี ศาสตร์ อาทิตย์ จันทร์ เป็นต้น
5. สังเกตจากคำที่มีคำว่า “เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น
6. สังเกตจากคำที่มี “ฑ” อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
7. สังเกตจากคำที่มี “รร” อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต

ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้

1. ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกันเรามักเลือกใช้รูปคำ สันสกฤต เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า เช่น

บาลี
สันสกฤต
ไทย

กมฺม
กรฺม
กรรม

จกฺก
จกฺร
จักร

2. ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น

บาลี
สันสกฤต
ไทย

ครุฬ
ครุฑ
ครุฑ

โสตฺถิ
สฺวสฺติ
สวัสดี

3. คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น

บาลี
สันสกฤต
ไทย

ขนฺติ
กฺษานฺติ
ขันติ

ปจฺจย
ปฺรตฺย
ปัจจัย

4. รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น

บาลี
สันสกฤต
ไทย

กณฺหา
กฺฤษฺณา
กัณหา,กฤษณา

ขตฺติย
กฺษตฺริย
ขัตติยะ,กษัตริย์

5. คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่ บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น

บาลี
สันสกฤต
ไทย
ความหมาย

กิริยา
กฺริยา
กิริยา
อาการของคน

กริยา
ชนิดของคำ

โทส
เทฺวษ
โทสะ
ความโกรธ

เทวษ
ความเศร้าโศก

คำภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย

คำภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งในสมัยปัจจุบันทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง คือ พบตั้งแต่ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง แม้จะมีไม่มากนักแต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นไทยได้นำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยของเราแล้ว และในสมัยต่อมาก็ปรากฏว่านิยมใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตในการแต่งวรรณคดีมาก ขึ้น

วิสัณติ์ กฏแก้ว (2529 : 2) ได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้คำบาลีและสันสกฤตเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาใช้ในทางวรรณคดีพอจะสรุปได้ดังนี้

1. วรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมที่ถือเอาเสียงไพเราะเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง นอกจากจะถือเอาความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญแล้ว ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทฉันท์ จะต้องถือคำ ครุ ลหุ เป็นสำคัญอีกด้วย คำที่เป็นเสียงลหุในภาษาไทยมีน้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะสามารถเลือกคำ ลหุ ครุ ได้มากและสามารถดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของเราได้ดี
ตัวอย่าง: สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 – อิลราชคำฉันท์

ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี สรรเพชญพระผู้มี พระภาค

อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์ ทรงคุณคะนึงมาก ประมาณ

2. คนไทยถือว่าคำบาลีและสันสกฤตเป็นคำสูง เพราะเป็นคำที่ใช้เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า และผู้ที่ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะควรแก่การเคารพบูชาทั่ว ไป เช่น พระสงฆ์ พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งฉันท์ที่ถือกันว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้คำบาลีและสันสกฤต

3. วรรณคดีไทยโดยมากมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรๆวงศ์ๆ ซึงจะต้องใช้คำราชาศัพท์ การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นคำราชาศัพท์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่น พระเนตร พระพักตร์ พระกรรณ เป็นต้น

4. การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตแต่งฉันท์ เป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ของผู้แต่งว่ามีความรู้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นอย่าง ดี มีคนเคารพนับถือและยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์”
7. อักษรนำ
อักษรนำคือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมด้วยสระตัวเดียวกัน พยัญชนะตัวแรกของคำจะต้องเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง จะอ่านออกเสียง “อะ” เพียงกึ่งเสียง พยัญชนะตัวหลังจะต้องเป็นอักษรต่ำเดี่ยว จะออกเสียงตามเสียงสระที่ประสม และจะอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามเสียงพยัญชนะตัวแรก พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกันร่วมสระผันในหลักภาษา


อักษรสูงอักษรกลางนำพา
อักษรตัวหน้าเรียก “อักษรนำ”
อักษรตัวตามอักษรต่ำเดี่ยว เสียงที่ข้องเกี่ยวมันดูลึกล้ำ เหมือนมีตัว “ห” มานำทุกคำ


อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว

ผนวช (ผะ –หนวด) ตัวเดียวเสียงก็เปลี่ยนไป ไม่ใช่ ผะ – นวด อย่างที่เคยใช้ เสียง “น” เปลี่ยนไปตามอักษรนำ

อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว

ตลาด (ตะ – หลาด) ตัวเดียวเสียงก็เปลี่ยนคำ ไม่ใช่ ตะ – ลาด อย่างที่เคยทำ แต่สบาย (สะ – บาย) ไม่ใช่อักษรนำ เมื่อแยกคำอ่าน สะ –บาย คงที่เสียง “อะ” ไม่ประวิสรรชนีย์ กึ่งเสียงเท่านี้ไม่มี “ห” นำ หากตัว “ห” นำอักษรต่ำเดี่ยว เสียง “อะ” ไม่เกี่ยวกลมเกลียวทุกคำ เสียงที่เปลี่ยนไปคืออักษรต่ำ


การออกเสียงจะ ออกเสียงพยัญชนะสองตัวผสมกันคนละครึ่ง พอแยกออกได้ว่าพยัญชนะอะไรผสมกัน แต่การผสมนี้จะไม่สนิทเท่าอักษรควบแท้ มียกเว้นอยู่ 2 กรณีที่จะไม่ออกเสียงพยัญชนะอีกตัว ได้แก่

ตัว ห เมื่อเป็นตัวนำอักษรเดี่ยว ไม่ต้องออกเสียงคนละครึ่งเหมือนอักษรนำอื่น ๆ แต่ให้ออกเสียงประสมกันสนิทเหมือนอักษรควบแท้ เช่น หนู หมอ ใหญ่ ฯลฯ
ตัว อ เมื่อนำหน้า ตัว ย ไม่ต้องออกเสียงเหมือนอักษรนำธรรมดา ให้ออกเสียงทำนองเดียวกับ ห นำ แต่เป็นเสียงอักษรกลาง คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก มี 4 คำเท่านั้น

ถ้า พยัญชนะข้างหน้าเป็นอักษรกลางหรืออักษรสูง แล้วพยัญชนะข้างหลังเป็นอักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว เวลาอ่านให้ผันเสียงอักษรต่ำนั้นเป็นเสียงสูงตามอักษรที่เป็นตัวนำ แต่ถ้าพยัญชนะข้างหน้าเป็นอักษรต่ำ หรือพยัญชนะข้างหลังไม่ใช่อักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว ให้อ่านออกเสียงพยัญชนะนั้นตามปกติเมื่ออกเสียงจะต้องมีคำควบกล้ำผสมอยู่ ด้วย
วิธีสังเกตอักษรนำ

1. สังเกตเสียงออกเสียงประสมกันแต่ไม่กล้ำกันสนิทเหมือนอักษรควบแท้ สามารถแยกเป็นสองพยางค์ได้ ยกเว้น ห และ อ ที่เป็นตัวนำ (อักษรนำที่ ห และ อ นำนั้นเป็นอักษรนำ แต่ไม่อ่านแบบอักษรนำ)

2. คำที่มีสระหน้าหรือสระคร่อม (สระหน้า-บน-หลัง) คำที่มีอักษรนำส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับอักษรหลัก และรูปสระล้อมรอบอยู่ด้านนอก เช่น เฉลย แสลง (สะ-แหลง) ไฉน เสมียน เถลิง เสลา ฯลฯ มีส่วนน้อยที่อักษรแยกจากกันเช่น ขโมย ทแยง สแลง (สะ-แลง)

3. สังเกตรูปพยัญชนะ คือ ถ้าอักษรนำเป็นอักษรสูง หรืออักษรกลาง อักษรเดี่ยวซึ่งเป็นตัวที่ 2 จะต้องออกเสียงเป็นเสียงสูงหรือกลางตามไปด้วย เช่น กนก ถนน สนิม ขนม ฯลฯ ในที่นี้ นก นน และ นิม ต้องออกเสียงให้เป็น หนก หนน หนิม ซึ่งผิดกับเมื่ออยู่ตามลำพัง
8. อักษรควบ
อักษรควบ หรือ คำควบกล้ำคือ คำที่ออกเสียงครั้งละ 1 พยางค์ แต่อ่านออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ คำควบกล้ำจะมี 2 ชนิด คือ อักษรควบแท้ และ อักษรควบไม่แท้ คำ ที่มีอักษรควบกล้ำชนิดที่เรียกว่า “อักษรควบแท้” แม้จะมีไม่มาก แต่ก็เป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นความเคยชิน ตัวอย่างเช่น กรด กลด ขริบ ขลิบ ครอก คลอก ตราด ประ ปละ ผลาญ พริก พลิก
คำ ควบกล้ำของไทยมีขอบเขตจำกัด ในทางภาษาศาสตร์อาจจะกล่าวได้ว่า เสียงที่จะนำหน้าได้นั้นต้องเป็นเสียงแข็ง อย่าง [p t k] เท่านั้น สำหรับภาษาไทย ก็รวมทั้งเสียงที่มีลมตามออกมาด้วย ดังนี้

[p] ป [ph] พ (ผ ภ)

[t] ต (ฏ) [th] ท (ฐ ฑ ฒ ถ ธ)

[k] ก [kh] ค (ข ฃ ฅ ฆ)
** พยัญชนะที่อยู่ในวงเล็บคือพยัญชนะที่มีวิธีการออกเสียงอย่างเดียวกันกับพยัญชนะที่อยู่นอกวงเล็บ
เมื่อพิจารณาดูคำควบแท้ในภาษาไทยก็จะเห็นได้ว่า พยัญชนะที่อยู่ในวงเล็บมีคำควบกล้ำน้อยกว่าหรือไม่มีเลย ดังนี้

[pr] ประ [pl] ปละ [phr] พริก [phl] พลิก, ผลาญ

[tr] ตราด [tl] – [thr] – [thl] -

[kr] กรด [kl] กลด [khr] ขริบ, ครอก [khl] ขลิบ, คลอก
ภาษา ไทยมีเสียงควบแท้ [tr] แต่ไม่มี [tl] ดังจะเห็นได้ว่า คำว่า “ตราด” เราออกเสียงควบกล้ำ แต่คำว่า “ตลาด” เราอ่านแยกเรียงพยางค์ ส่วนเสียง [thr] นั้น แต่เดิมโดนแปลงเสียงเป็น [s] หรือ [ซ] เช่น ทราย ทรุดโทรม ฯลฯ กลายเป็นคำในกลุ่มปิดกลุ่มหนึ่งของภาษาไทย ในปัจจุบันเมื่อเริ่มรับเสียงจากภาษาอังกฤษจึงเกิดเสียงควบกล้ำใหม่ เช่น ทรอย (Troy) ทริป (trip) แต่ก็ยังไม่มีเสียงควบกล้ำ [thl]คำ ที่มีเสียงควบแท้ทำท่าว่าจะเป็นคำในกลุ่มปิด เพราะมีสมาชิกจำกัด แต่แล้วอิทธิพลของเสียงจากภาษาอังกฤษก็ทำให้เกิดเสียงควบแท้เสียงใหม่ๆ ขึ้นมาอีก 5 เสียง คือ

[dr] ดราฟต์ (draft)

[br] บรอนซ์ (bronze) [bl] บล็อก (block)

[fr] ฟรี (free) [fl] ฟลุก (fluke)
คำ ในกลุ่มนี้จึงกลายเป็นกลุ่มเปิด แต่เปิดในขอบเขตจำกัด เพราะยังมีเสียงควบกล้ำแบบควบแท้อีกมากมายที่คนไทยออกเสียงไม่ถนัด ไม่ว่าจะเป็นคำจากภาษาบาลีสันสกฤต เขมร หรือภาษาอังกฤษก็ตาม เช่น เชรา [เชฺรา] (ภาษาเขมร แปลว่า ซอกผา, ห้วย) ศฤงคาร [สิงคาน, สะหฺริงคาน] (ภาษาสันสกฤต แปลว่า ความใคร่) สแลง (จากภาษาอังกฤษว่า slang) ขอให้สังเกตว่า คนไทยไม่สามารถจะออกเสียง ช ช้าง ควบกับ ร เรือ ได้ ในกรณีของ “ศฤ” หรือ “สร” ก็ไม่สามารถจะควบกล้ำได้ ต้องใช้วิธีตัดเสียงหรือแทรกเสียงอะ ส่วนเสียง [sl] นั้น คนไทยก็ควบกล้ำไม่ได้ ต้องแทรกเสียงอะ เช่นกัน
ใน ขณะที่คำควบกล้ำแท้มีลักษณะทั้งปิดและเปิด แต่คำควบกล้ำไม่แท้น่าจะเป็นกลุ่มปิด เพราะมีคำเพียงไม่กี่คำที่อยู่ในกลุ่มนี้ และแทบจะไม่มีคำเพิ่ม เช่น จริง ไซร้ ศรัทธา ศรี เศร้า สรง สรวง สรวม สรวย สรวล สร้อย สระ (น้ำ) สร้าง เสริม
คำ เหล่านี้ล้วนแต่อ่านออกเสียงโดยไม่มีเสียง ร เรือ ควบ ทั้งสิ้น คำในกลุ่มนี้นอกจากจะไม่มีสมาชิกเพิ่มแล้ว ในปัจจุบันยังเกิดปรากฏการณ์ ๒ อย่าง คือ อย่างแรก มีผู้ตัดตัว ร เรือ ทิ้งไป เพราะเห็นว่าไม่ได้ออกเสียงแล้ว เช่น เขียน “จริง” เป็น “จิง” เช่นเดียวกับที่ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเปลี่ยนรูปการเขียนจาก through เป็น thru อย่างที่สอง บางคนก็เพิ่มเสียงอะลงไป เช่น อ่านคำ “แม่สรวย” เป็น [แม่-สะ-รวย]
9. วลี /พยางค์
วลี หรือ กลุ่มคำเป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น “คำหลัก” ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลีได้ดังนี้

นามวลี (NP) เป็นวลีที่มีคำนามเป็นคำหลักของวลี เช่น แมวบนเสื่อ, บ้านริมน้ำ
กริยาวลี (VP) เป็นวลีที่มีคำกริยาเป็นคำหลักของวลี เช่น กินข้าว, กระโดดขึ้นลง
บุพบทวลี (PP) เป็นวลีที่มีคำบุพบทเป็นคำหลักของวลี เช่น ที่สุดถนน, หน้าร้านอาหาร

พยางค์เป็นการประสมเสียงในภาษา เพราะพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ติดตามกันอย่างกระชั้นชิด พยางค์มีองค์ประกอบดังนี้ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงสะกด
เสียงพยัญชนะต้นคือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้ เช่น

อ่าง (พยัญชนะต้น คือ อ)

ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล)

ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด)

คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล)

ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร)

ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น
เสียงสระคือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น

งา (เสียงสระ อา)

ชล (เสียงสระ โอะ)

เสีย (เสียงสระ เอีย)

เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น
เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป เช่น

ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก)

เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท)

สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา) เป็นต้น
การ ที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่งๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์” แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า 1 พยางค์ หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะเป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง 2 ครั้ง เราก็ถือว่ามี 2 พยางค์ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น 1 พยางค์
ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้


ไร่
มี 1 พยางค์

ชาวไร่
มี 2 พยางค์ (ชาว – ไร่)

สหกรณ์
มี 3 พยางค์ (สะ – หะ – กอน)

โรงพยาบาล
มี 4 พยางค์ (โรง – พะ – ยา – บาน)

นักศึกษาผู้ใหญ่
มี 5 พยางค์ (นัก – สึก – สา – ผู้ – ใหญ่)

สหกรณ์การเกษตร
มี 6 พยางค์ (สะ – หะ – กอน – กาน – กะ – เสด)

พยางค์

การที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่ง ๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์”
แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่
รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า ๑ พยางค์ หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะ
เป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง ๒ ครั้ง เราก็ถือว่ามี๒ พยางค์ เสียงที่เปล่ง
ออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น ๑
พยางค์
ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้
ไร่ มี๑ พยางค์
ชาวไร่ มี๒ พยางค์ (ชาว-ไร่)
สหกรณ์ มี๓ พยางค์ (สะ-หะ-กอน)
โรงพยาบาล มี๔ พยางค์ (โรง-พะ-ยา-บาน)
นักศึกษาผู้ใหญ่ มี๕ พยางค์ (นัก-สึก-สา-ผู้-ใหญ่)
สหกรณ์การเกษตร มี๖ พยางค์ (สะ-หะ-กอน-การ-กะ-เสด)
จากตัวอย่างข้างบนนี้สรุปได้ว่า
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่ง
เสียงออกมา ๑ ครั้ง ก็เรียก ๑ พยางค์ สองครั้งก็เรียก ๒ พยางค์
องค์ประกอบของพยางค์
พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อม ๆ กัน พยางค์ที่มี
ความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และ
วรรณยุกต์ การประกอบสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี๔
วิธี คือ
๑. การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ เช่น
กา องค์ประกอบ คือ
๑. พยัญชนะ ก
๒. สระ อา
๓. วรรณยุกต์ เสียงสามัญไม่มีรูป
๒. การประสมสี่ส่วน คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ
ตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่น
เกิด องค์ประกอบ คือ
๑. พยัญชนะต้น ก
๒. สระ เออ
๓. วรรณยุกต์ เสียงเอกไม่มีรูป
๔. ตัวสะกด ด
๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย พยางค์ที่
ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น
เล่ห์องค์ประกอบ คือ
๑. พยัญชนะต้น ล
๒. สระ เอ
๓. วรรณยุกต์ เสียงโท
๔. ตัวการันต์ ห
๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ
ตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น
สิงห์องค์ประกอบ คือ
๑. พยัญชนะ ส
๒. สระ อิ
๓. วรรณยุกต์ เสียงจัตวาไม่มีรูป
๔. ตัวสะกด ง
๕. ตัวการันต์ ห
คำ
ความหมายของคำ
คำ ตามความหมายในหลักภาษา หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมายอย่างใด
อย่างหนึ่ง อาจเป็นเสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ เช่น
นา เป็นคำ๑ คำ ๑ พยางค์
ชาวนา เป็นคำ๑ คำ ๒ พยางค์
นักศึกษา เป็นคำ๑ คำ ๓ พยางค์
คำคือ พยางค์ที่มีความหมาย คำมากพยางค์คือ พยางค์หลายพยางค์รวมกันแล้วมีความหมาย
ผู้เรียนพอจะทราบไหมว่า พยางค์กับคำต่างกันอย่างไร อ่านต่อไปท่านก็จะทราบ
พยางค์คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
คำคือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งจะกี่พยางค์ก็ตามถ้าได้ความจึงจะเรียกว่า “คำ”
องค์ประกอบของคำ
คำหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วย เสียง แบบสร้างและความหมาย
๑. เสียง คำหนึ่งอาจมีเสียงเดียวหรือหลายเสียงก็ได้ คำเสียงเดียวเรียกว่า คำพยางค์เดียว คำหลาย
เสียงเรียกว่า คำหลายพยางค์
คำพยางค์เดียว เช่น กิน นอน เดิน น้ำ ไฟ ฯลฯ
คำหลายพยางค์ เช่น บิดา นาฬิกา กระฉับกระเฉง ฯลฯ
๒. แบบสร้าง คำประกอบด้วยพยางค์ และพยางค์หนึ่ง ๆ อาจมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน ๔ ส่วน ๕
ส่วนก็ได้
๓. ความหมาย คำจะต้องมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ เช่น ขัน มี
ความหมายต่างกันสุดแต่ทำหน้าที่ใด ขึ้นอยู่กับรูปและประโยค เช่น
ขันใบนี้ ทำหน้าที่นาม แปลว่า ภาชนะใส่สิ่งของ
ไก่ขัน ทำหน้าที่กริยา แปลว่า ร้อง
เขาขันเชือก ทำหน้าที่กริยา แปลว่า ทำให้แน่น
เขาทำงานแข็งขัน ทำหน้าที่วิเศษณ์ แปลว่า ขยันไม่ย่อท้อ
เขาพูดน่าขัน ทำหน้าที่วิเศษณ์ แปลว่า ชวนหัวเราะ
สรุป โครงสร้างของพยางค์และคำ
พยางค์
เสียงพยัญชนะ + เสียงสระ + เสียงวรรณยุกต์
พยางค์+ ความหมาย
คำ
กลุ่มพยางค์+ ความหมาย
ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย
ชนิดของคำ
มนุษย์เราที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคมจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันเพื่อให้รู้ความต้องการและ
เข้าใจความรู้สึกนึกคิด ของกันและกัน การติดต่อสื่อสารกันทำได้หลายทาง แต่ทางที่สำคัญที่สุด คือ
ทางการพูดและการเขียนข้อความ ที่ผู้พูดหรือผู้เขียนกล่าวออกไปจะยืดยาวเพียงใด ข้อความนั้น
อาจจะแบ่งเป็นช่วง ๆ ได้ ช่วงของข้อความที่บรรจุความคิดที่สมบูรณ์ หรือ ข้อความอันบริบูรณ์
ช่วงหนึ่งเรียกว่าประโยคในแต่ละประโยคจะมีการใช้คำ ในประโยค แตกต่างกันออกไปตาม
ความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค บรรดาคำทั้งหลาย ที่ใช้กัน อยู่ในภาษาไทย จำแนก
ออกเป็นชนิดต่าง ๆ กัน ดังนี้
๑. คำนาม
๒. คำสรรพนาม
๓. คำกริยา
๔. คำวิเศษณ์
๕. คำบุพบท
๖. คำสันธาน
๗. คำอุทาน
๑. คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ แบ่งเป็น ๕ ชนิด คือ
๑.๑ สามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อโดยทั่วไป เช่น คน นก ม้า เรือ รถ
๑.๒ วิสามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะ เช่น กรุงเทพฯ โรงพยาบาลศิริราช สมศักดิ์
๑.๓ สมุหนาม คือ คำนามที่ใช้เป็นชื่อ หมวด หมู่ กอง คณะ เพื่อให้รวมกันเป็น หมวด หมู่ กอง
คณะ ฝูง โขลง รัฐบาล บริษัท
๑.๔ ลักษณะนาม คือ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของนาม เพื่อให้รู้สัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน ของ
คำนามนั้น ๆ เช่น กิ่ง ขอน ปาก ฉบับ พระองค์ บาน วง ปื้น เลา ฯลฯ
๑.๕ อาการนาม คือ คำนามซึ่งเกิดจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ มีคำ การ และความ นำหน้า เช่น
การเดิน การเล่น ความเจริญ ความตาย ความรู้ ความดี ความเร็ว
๒. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อ หรือคำที่ใช้แทนคำนามทั้งปวง มี๖ ชนิด
๒.๑ บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการพูดจา แบ่งออกเป็น ๓ พวก คือ บุรุษ
ที่๑ บุรุษที่๒ และบุรุษที่๓ เช่น ฉัน ท่าน เขา
๒.๒ ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามซึ่งอยู่ข้างหน้า ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน
๒.๓ ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม และใช้เป็นคำถาม ได้แก่ ใคร อะไร
ไหน ผู้ใด สิ่งไร ฯลฯ
๒.๔ วิภาคสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามเพื่อแยกนามนั้นออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ ต่าง บ้าง กัน
เช่น ชาวนาต่างไถ่นา นักเรียนบ้างก็เล่นบ้างก็เรียน เขารักกัน นักมวยชกกัน
๒.๕ นิยมสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามเพื่อบอกความกำหนดให้ชัดเจน เช่น นี่ นี้ นั่น โน้น
๒.๖ อนิยมสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามแต่ไม่บอกแน่นอน เช่น ใคร อะไร ที่ไหน ใด ๆ
อนิยมสรรพนามคล้ายปฤฉาสรรพนาม แต่ปฤจฉาสรรพนามใช้เป็นคำถามอนิยมสรรพนาม ใช้เป็น
ความบอกเล่า
๓. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนาม หรือสรรพนาม มี๔ ชนิด คือ
๓.๑ อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารับข้างท้าย เพราะมีใจความครบบริบูรณ์แล้ว
ได้แก่ นั่ง นอน ยืน เดินไป พูด บิน พัง พัด ไหล หัก หัวเราะ ฯลฯ
๓.๒ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องการกรรมมารับข้างท้ายจึงจะได้ความสมบูรณ์ ได้แก่ เขียน ตี
กิน จับ ไล่ เปิด อ่าน ฯลฯ
๓.๓ วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ต้องอาศัยเนื้อความของวิกัติการกที่อยู่ข้างท้ายจึงจะได้ความ
สมบูรณ์ ได้แก่ เหมือน คล้าย เท่า คือ ดัง
๓.๔ กริยานุเคราะห์ คือ กริยาที่ใช้ประกอบหรือช่วยกริยาสำคัญในประโยค ได้แก่ กำลัง พึ่ง น่า
จะ จัก จง คง เคย ควร ชะรอย ต้อง ถูก พึง ย่อม ยัง ฯลฯ
๔. คำวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นให้มีเนื้อความแปลกออกไป คำที่ใช้ประกอบ ได้แก่ คำนาม
คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ จำแนกออกเป็น ๑๐ ชนิด คือ
๔.๑ ลักษณวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกลักษณะของคำนั้น ๆ โดยมากใช้ประกอบ
คำนาม คำสรรพนามที่ใช้ประกอบคำกริยาและกริยาวิเศษณ์มีน้อย เช่น
๑) บอกชนิด ได้แก่ ชั่ว เลว แก่ อ่อน หนุ่ม สาว ฯลฯ คนชั่ว คนดี โคแก่ หญ้าอ่อน
๒) บอกขนาด ได้แก่ สูง ใหญ่ เล็ก ยาว สั้น โต แคบ ฯลฯ ต้นไม้สูง แม่น้ำกว้าง
๓) บอกสัณฐาน ได้แก่ กลม บาง แบน รี ฯลฯ โต๊ะกลม ใบไม้รี
๔) บอกสี ได้แก่ ดำ ขาว เหลือง แดง ฯลฯ เสื้อดำ ผ้าเหลือง ใบไม้เขียว
๕) บอกเสียง ได้แก่ ดัง ค่อย เพราะ แหบ เครือ ฯลฯ เสียงดัง พูดค่อย
๖) บอกกลิ่น ได้แก่ เหม็น หอม ฉุน คาว ฯลฯ ดอกไม้หอม น้ำเหม็น
๗) บอกรส ได้แก่ เปรี้ยว ขม จืด เผ็ด หวาน เค็ม มัน ฯลฯ ส้มเปรี้ยว น้ำตาลหวาน
๘) บอกสัมผัส ได้แก่ ร้อน เย็น นิ่ม กระด้าง แข็ง ฯลฯ น้ำร้อน เบาะนุ่ม
๙) บอกอาการ ได้แก่ ช้า เร็ว เอื่อย ซึม ฉลาด ซื่อ ฯลฯ วิ่งเร็ว ไหลเอื่อย
๔.๒ กาลวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกเวลา ประกอบได้ทั้งนาม สรรพนาม และ
กริยา ได้แก่ เดี๋ยวนี้ เช้า เย็นช้า นาน โบราณ ปัจจุบัน ฯลฯ
๔.๓ สถานวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ ประกอบทั้งนาม สรรพนาม กริยา
ได้แก่ ใกล้ ไกล ห่าง ชิด ใต้ เหนือ ล่าง บน ฯลฯ
๔.๔ ประมาณวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกจำนวน แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑) บอกจำนวนจำกัด ได้แก่คำว่า หมด สิ้น ทั้งหมด ทั้งปวง บรรดา ทั้งผอง
๒) บอกจำนวนไม่จำกัด ได้แก่ มาก น้อย จุ หลาย ๆ ฯลฯ
๓) บอกจำนวนแบ่งแยก ได้แก่ บาง บ้าง ต่าง สิ่งละ คนละ ฯลฯ
๔) บอกจำนวนนับ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ บอกจำนวนเลข เช่น หนึ่ง สอง กับบอกจำนวนที่
เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง
๔.๕ ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่น เป็นคำถาม ได้แก่ ใด อะไร ทำไม ไหน เท่าไร
เช่น คนไหนเรียนเก่ง เธอมากี่คน
๔.๖ นิยมวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่น เพื่อบอกความแน่นอน ความชัดเจน เช่น นี้ นั้น แท้
แบ่งเป็น ๒ ชนิด
๑) บอกความแน่นอนในความหมาย เช่น ฉันเอง ไปแน่ สวยแท้ ดีทีเดียว
๒) บอกความแน่นอนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คนนั้น ที่นั้น ที่นี่
๔.๗ อนิยมวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่น โดยไม่บอกกำหนดแน่นอนลงไป เช่น อื่น อื่นใด
ไย เช่น เหตุใดเธอรีบกลับบ้าน
๔.๘ ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้แสดงรับรอง โต้ตอบ รับขาน เช่น จ๋า ครับ เออ คุณขา
กระหม่อม พะย่ะค่ะ
๔.๙ ประติเสธวิเศษณ์ คือ คำที่บอกความห้าม หรือไม่รับรอง เช่น ไม่ใช่ มิได้ บ่
๔.๑๐ ประพันธวิเศษณ์ คือ คำประพันธสรรพนาม ซึ่งเอามาใช้เหมือนคำวิเศษณ์ ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน
เช่น เขาพูดอย่างที่ฉันพูด ที่ ซึ่ง อัน ถ้าอยู่ติดกับคำนาม หรือสรรพนามจะเป็น
ประพันธสรรพนาม ถ้าอยู่ติดกับกริยาหรือกริยาวิเศษณ์จะเป็นประพันธวิเศษณ์
๕. คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำอื่น ได้แก่ นำหน้า คำนาม คำสรรพนาม คำกริยาสภาวมาลา เพื่อ
บอกตำแหน่งแห่งที่ของคำเหล่านั้น แบ่งเป็น ๒ อย่าง
๕.๑ คำบุพบทที่ไม่เชื่อมคำกับคำอื่น ได้แก่ คำนำหน้า คำทักทายในบทอาลปนะ (คำที่ใช้
เรียกร้องผู้ที่จะพูดด้วย) เช่น อันว่า ดูก่อนดูรา ข้า แต่แน่ะ
๕.๒ บุพบทที่เชื่อมกับคำอื่น คือ บุพบทที่นำหน้าคำนาม สรรพนาม กริยาสภาวมาลา
๑) บุพบทนำหน้าบทกรรม ได้แก่ ซึ่ง สู้ ยัง แก่ ตลอด
๒) บุพบทนำหน้าบทอื่นในฐานะเครื่องใช้หรือติดต่อกัน ได้แก่ด้วย โดย อัน ตาม กับ
๓) บุพบทนำหน้าบทอื่นในฐานะเป็นผู้รับ ได้แก่ เพื่อ ต่อ แก่ แต่ เฉพาะ
๔) บุพบทนำหน้าบทอื่นเพื่อบอกที่มาหรือต้นเหตุ ได้แก่ แต่ จาก กว่า เหตุ ตั้งแต่
๕) บุพบทนำหน้าบอกเวลา ได้แก่ เมื่อ ณ แต่ ตั้งแต่ จน สำหรับ เฉพาะ
๖) บุพบทนำหน้าบอกสถานที่ ได้แก่ ใต้ บน ริม ชิด ใกล้ ที่
การใช้บุพบทบางคำ
กับ
๑. ใช้ในความร่วมด้วย ทำกริยาเหมือนกัน เช่น ครูไปกับศิษย์
๒. ใช้ในความหมายที่ไปด้วย มาด้วย อยู่ด้วย เสียหายด้วย เช่น ทำกับมือ เห็นกับตา
๓. ใช้ในความที่อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน ทำอะไรด้วยกัน เช่น บุตรกับธิดา โคกับเกวียน
๔. ใช้ในความหมายในสิ่งที่จำนวนมาก ไปด้วยกัน มาด้วยกัน อยู่ด้วยกัน เช่น ฉันมากับหนุ่ม ครู
ไปกับคณะนักเรียน
แก่
ใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับการให้ มักใช้สำหรับผู้น้อย หรือผู้ที่อยู่ในฐานะเดียวกัน เช่น ฉันบอกแก่
เธอลงโทษแก่ผู้กระทำผิด ให้ถ้อยคำแก่ศาล
แด่
ใช้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้อันเป็นที่เคารพสักการะ เช่น ถวายไทยทานแด่พระภิกษุสงฆ์
ต่อ
๑. ใช้ในความหมายเมื่อเป็นที่รับในต่างชั้นกัน เช่น เรียนต่อท่านรัฐมนตรี รายงานต่อหัวหน้า
ให้การต่อศาล
๒. เป็นการแสดงความเกี่ยวข้องกัน ใช้ในความหมายติดต่อกัน ความขัดแย้งกัน เช่น เขาด่าต่อ
หน้าเรา เขาเป็นคนซื่อตรงต่อเวลา
โดย, ตาม
ใช้เมื่อเป็นบทแห่งกริยา เช่น เขาทำตามคำสั่ง ไปโดยสวัสดิภาพ
ใน
๑. ใช้กับบุคคลที่เคารพนับถือหรือสิ่งที่สักการะ เช่น ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชนิพนธ์ใน
๒. ใช้ในความหมายเพื่อแสดงว่าของเล็กอยู่ในของใหญ่ เช่น คิดในใจ ความในอกปลาในน้ำ
คนไทยในต่างประเทศ
๖. คำสันธาน คือ คำซึ่งใช้ต่อหรือเชื่อมถ้อยคำให้ติดต่อกัน แบ่งเป็น ๓ ประการ
๖.๑ เชื่อมคำต่อคำ
๖.๒ เชื่อมประโยคต่อประโยค
๖.๓ เชื่อมความต่อความ
ชนิดของคำสันธาน มี๘ ชนิด
๑) เชื่อมความคล้อยตามกัน ได้แก่ เช่นว่า คือ กับ และ จึง ครั้น…จึง
๒) เชื่อมความแย้งกัน ได้แก่ แต่ แต่ทว่า แม้ ก็ กว่า…ก็ แม้…ก็
๓) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ ด้วย เพราะ จึง เพราะฉะนั้น ฯลฯ
๔) เชื่อมความที่เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น
๕) เชื่อมความที่ต่างตอนกัน ได้แก่ ฝ่าย ส่วน อนึ่ง
๖) เชื่อมความเปรียบเทียบ ได้แก่ดุจ ประหนึ่งว่า คล้าย เหมือน ฯลฯ
๗) เชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า ผิว่า แม้ว่า ต่างว่า สมมติว่า
๘) เชื่อมความให้สละสลวย ได้แก่ อย่างไรก็ตาม สุดแต่ว่า ทำไมกับ
๗. คำอุทาน คือ คำชนิดหนึ่ง ซึ่งบอกเสียงคน สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
๗.๑ อุทานบอกอาการ แบ่งเป็น
๑. อาการร้องเรียก หรือบอกให้รู้ตัว เช่น นี่แนะ เฮ้ย โว้ย ฯลฯ
๒. อาการโกรธเคือง เช่น ชะ ๆ ชิ ๆ เหม่ ดูดู๋ ฯลฯ
๓. อาการประหลาดหรือตกใจ เช่น อ๊ะ เออแน่ แม่เจ้าโว้ย ฯลฯ
๔. อาการสงสัย หรือปลอบโยน เช่น เจ้าเอ๋ย อนิจจา พุทโธ่ ฯลฯ
๕. อาการเข้าใจหรือรับรู้ เช่น เออ เออน่ะ อ้อ ฯลฯ
๖. อาการเจ็บปวด เช่น โอย โอ้ย ฯลฯ
๗. อาการสงสัยหรือไต่ถาม เช่น หา หือ ฯลฯ
๘. อาการห้ามหรือทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ อื้อหือ ฯลฯ
๙. อาการจากสิ่งธรรมชาติ เช่น ปัง ปึง ตูม โครม ฯลฯ
๗.๒ อุทานเสริมบท คือ การเสริมถ้อยคำเพื่อฟังให้รื่นหู เช่น ไม่ลืมหูไม่ลืมตา แขนแมน
เสื่อสาด ดีอกดีใจ ผู้หญิงยิงเรือ อาบน้ำอาบท่า อยู่บ้านอยู่ช่อง
สรุป
๑. พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ออกมาพร้อม ๆ กัน พยางค์ แต่ละ
พยางค์ ต้องมีส่วนประกอบอย่างน้อย ๓ ส่วน อย่างมาก ๕ ส่วน คือ (๑) พยัญชนะ (๒) สระ (๓)
วรรณยุกต์(๔) ตัวสะกด (๕) ตัวการันต์
๒. คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งจะกี่พยางค์ก็ตามแต่ได้ความเป็นอย่างหนึ่งเรียกว่า คำหนึ่ง
๓. คำที่ใช้อยู่ในภาษาไทย จำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้(๑) คำนาม (๒) คำสรรพนาม (๓)
คำกริยา (๔) คำวิเศษณ์(๕) คำบุพบท (๖) คำสันธาน (๗) คำอุทาน

วลี

ชนิดของวลีตามแนวหลักภาษาเดิม มี ๗ ชนิดดังนี้
๑.๑ นามวลี หมายถึง วลีที่มีคำนามนำหน้า เช่น
ถนนสายหนึ่ง พระรูปที่ ๕
จังหวัดนครพนม นาฬิกาข้อมือเรือนทอง
ชาวเมืองสกลนคร อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์
๑.๒ สรรพนามวลี หมายถึง วลีที่มีคำสรรพนามนำหน้า หรือ วลีที่ทำหน้าที่เป็นคำสรรพนาม เช่น
ข้าพเจ้า ข้าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
ใต้เท้า ใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
พระองค์ ท้าวเธอ
๑.๓ กริยาวลี หมายถึง วลีที่มีคำนำหน้า โยมีความหมายเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น
นั่งร้องเพลง ทำงานหนัก
เป็นหนังหน้าไฟ หวังแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว
ถึงแก่กรรม เสด็จสวรรคาลัยสุรโลก
๑.๔ วิเศษณ์วลี หมายถึง วลีที่มีคำวิเศษณ์นำหน้า และทำหน้าที่ประกอบคำอื่นอย่างเดียวกับคำวิเศษณ์อาจประกอบนาม ขยายกริยา ขยายวิเศษณ์ด้วยกันเองก็ได้ เช่น
ช้างสามเชือก (ขยายนาม)
เราสามคน (ขยายสรรพนาม)
เขากินข้าวจุเหลือประมาณ (ขยายกริยา)
เขาคงงามเลิศเหลือประมาณ (ขยายวิเศษณ์ซึ่งทำหน้าที่เป็นกริยา)
๑.๕ บุพบทวลี หมายถึง วลีที่มีคำบุพบทอยู่หน้าคำอื่น อาจอยู่หน้าคำอื่น อาจอยู่หน้าคำนาม สรรพนามหรือกริยา สภาวมาลา เช่น
ข้าแต่สมาชิกทั้งหลาย (นำหน้านาม)
ข้าแต่ท่านทั้งหลาย (นำหน้าสรรพนาม)
เพื่อชมเล่น (นำหน้ากริยาสภาวมาลา)
๑.๖ สันธานวลี หมายถึง วลีที่ทำหน้าที่เป็นคำสันธาน คือทำหน้าที่เชื่อมคำ เชื่อมความ เชื่อมประโยค เช่น
เขามีความรักในลูกและเมีย
ถึงฝนตกฉันก็จะไป
เพราะฉะนั้น เขา จึง ต้องไปหาหมอ
กรณีคำสันธานที่แยกออกจากกัน เพื่อเชื่อมความให้ติดต่อกัน เรียกว่า สันธานคาบเกี่ยว
๑.๗ อุทานวลี หมายถึง วลีที่ใช้เป็นคำอุทาน จะมีคำอุทานนำหน้าหรือไม่ก็ได้ เช่น
โอ้อกเอ๋ย โอ๊ยตายแล้ว โอพระเวสสันดร
เวรเอ๋ยเวร อนิจจาความรักเอ๋ย
ประโยค
๑.แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของประโยค มี ๓ ชนิด ดังนี้
๑.๑ ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงข้อความเดียว เช่น
โอ้โฮ ฝนตกมากจัง
ฉันชอบอากาศชายทะเล
เขาเป็นบุตรชายคนโตของฉัน
๑.๒ ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความเดียวเหล่านั้น แบ่งออกเป็น ๔ ชนิดดังนี้
ก. ประโยคความรวมที่มีข้อความคล้อยตามกัน โดยใช้สันธาน และ,กับ, แล้ว…จึงพอ…ก็ ฯลฯ เชื่อมประโยคเช่น
เขาไปทำงานแล้วเขาจึงกลับบ้าน
พอดนตรีบรรเลง ตัวละครก็เต้นระบำออกมา
ข. ประโยคความรวมที่มีข้อความขัดแย้งกันโดยใช้ สันธาน แต่, แต่ทว่า,ถึง…ก็,ถึง…แต่..ก็ ฯลฯ เชื่อมประโยค เช่น
น้ำขึ้น แต่ลมลง
เขาเคยเห็น แต่ทว่า เขาไม่รู้จัก
ถึงผมจะจนทรัพย์ แต่ ก็รวยน้ำใจ
ค. ประโยคความรวมที่มีข้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้สันธานหรือ ,มิฉะนั้น , ไม่เช่นนั้น , ไม่อย่างนั้น , หรือไม่ก็ ฯลฯ เชื่อมประโยค เช่น
คุณจะอยู่หรือจะไป
คุณต้องเลิกเที่ยวกลางคืน มิฉะนั้น คุณอายุสั้น
นักเรียนทุกคนต้องทำงาน หรือไม่ก็นอนเสีย
ง. ประโยคความงามที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลแต่กัน โดยมีสันธาน จึง, ฉะนั้นดังนั้น, เพราะ…จึง , เพราะนั้น….จึง ฯลฯ เชื่อมประโยค เช่น
เขามัวคิดถึงแต่คนรัก จึงสอบไล่ตก
เขาเล่นกีฬาทุกเช้า ดังนั้นร่างกายจึงแข็งแรง
เพราะเขาพูดเพราะ คนจึงรักเขา
๑.๓.ประโยคความซ้อน คือ ประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปรวมกันแต่มีประโยคหลักหรือประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคอื่นทำหน้าที่แต่ง
หรือประกอบประโยคหลักดังนั้นประโยคความซ้อนจะประกกอบด้วยประโยค ๒ ชนิด คือ
ก.มุขยประโยค หมายถึง ประโยคหลักหรือประโยคที่มีใจความสำคัญซึ่งจะขยายไม่ได้และมีได้เพียงประโยคเดียวต่อหนึ่งประโยคความซ้อนเท่านั้น เช่น
เขามีหนังสือที่ฉันไม่มี
เขาอ่อนเพลียจนเขาต้องพักผ่อน
คนที่ปรารถนาความสุขจะต้องมีหลักธรรมประจำใจ
ข.อนุประโยค หมายถึง ประโยคที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ความดีขึ้นแบ่งออกเป็น๓ชนิด คือ
(๑) นามานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่คล้ายคำนาม คือ อาจเป็นบทประธาน บทกรรมหรือบทขยายก็ได้ เช่น
เขาพูดเช่นนี้ เป็นการส่อนิสัยชั่ว ( บทประธาน )
ฉันเห็นเด็กเรียนหนังสือ ( บทกรรม )
อาหารสำหรับนักเรียนเล่นละคร มีอยู่ในห้อง ( บทขยาย )
(๒) คุณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ประกอบนามหรือสรรพนามโดยใช้ประพันธสรรพนาม ที่ ซึ่ง อัน เป็นบทเชื่อม เช่น
ฉันรักคนไทยซึ่งรักชาติไทย
คนโง่ซึ่งรวมอยู่กับนักปราชญ์
บทเพลงอันไพเราะเพราะพริ้งเริ่มบรรเลงแล้ว
(๓) วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันอันเป็นส่วนหนึ่งของประโยคสำคัญ เช่น
เขาดีจนฉันเกรงใจ
เขามีความรู้ เพราะเขาอ่านหนังสือมาก
ฉันมา เมื่อเธอหลับ
๒.แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยค หมายถึง ประโยคที่แบ่งตามลักษณะการใช้ของผู้พูด มีหลายชนิดเช่น
ก. ประโยคบอกเล่า หรือประโยคแจ้งให้ทราบ คือประโยคที่ผู้พูดต้องการแจ้งเรื่องราวต่างๆให้ผู้ฟังทราบ เช่น
วัฒนธรรมไทย คือหัวใจของชาติ
ปีนี้ ฝนตกชุกมากในจังหวัดสกลนคร
ข. ประโยคคำถาม หรือประโยคความโต้ตอบ คือประโยคที่ผู้พูดใช้ถามผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังตอบให้ทราบในสิ่งที่ต้องการทราบ เช่น
ผมจะไปพบคุณได้ที่ไหน
คุณเคยไปจังหวัดเชียงใหม่ไหม
คุณวันเพ็ญไม่นั่งก่อนหรือครับ
ค. ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่ผู้พูดกล่าวปฏิเสธหรือไม่ยอมรับเมื่อมีผู้ถามคำถาม เช่น
เปล่าผมไม่ได้พบคุณวันวันเพ็ญตั้งนานแล้ว
ผมไม่เคยไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่เลย
ฉันไม่ยอมรับข้อเสนอของคุณหรอก
ง. ประโยคอ้อนวอนหรือขอร้อง หรือประโยคบอกให้ทำ คือ ประโยคที่ผู้พูดอ้อนวอนหรือขอร้องให้ผู้ฟังปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น
ผมขอความกรุณาจากท่าน โปรดช่วยลูกชายผมด้วย
โปรดเดินบนทางเท้า

อักษรควบ

คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน
เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ
คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น
พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง
พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป
คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า ศรี ศรัทธา สร้าง เสริม สร้อย สระ สรง สร่าง
คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม มัทรี อินทรี นนทรี พุทรา
คำที่มี ร เป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือ คำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกัน
มี กร- ขร- คร- ตร- ปร- พร- เช่น
เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ หอยแครง พริก เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
ตัวอย่างประโยค
ข้อควรจำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ
แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ
แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ
เช่น หรอก สะกดว่า หร + ออ + ก อ่านว่า กราบ
คำที่มี ล เป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือ คำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกัน
มี กล- ขล- คล- ปล- พล- เช่น
กลาง ขลุ่ย กล้องส่อง เปลวไฟ ลำคลอง หัวปลี พลอย แปลงผัก เกล็ดปลา ตีกลอง

ตัวอย่างประโยค
ข้อควรจำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ล รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
เช่น กลาง สะกดว่า กล + อา + ง อ่านว่า กลาง
แปลง สะกดว่า ปล + แอ + ง อ่านว่า แปลง
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
เช่น ตลาด สะกดว่า ตล + อา + ด อ่านว่า ตะ - หลาด
ตลก สะกดว่า ตล + โอะ + ก อ่านว่า ตะ - หลก
3. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ
เช่น หลอก สะกดว่า หล + ออ + ก อ่านว่า หลอก
หลับ สะกดว่า หล + อะ + บ อ่านว่า หลับ
คำที่มี ว เป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือ คำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกัน
มี กว- ขว- คว- เช่น
แตงกวา ไม้แขวนเสื้อ ขวาน ควัน กวาง ล้มคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด

ตัวอย่างประโยค
ข้อควรจำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
เช่น ควาย สะกดว่า คว + อา + ย อ่านว่า ควาย
แขวน สะกดว่า ขว + แอ + น อ่านว่า แขวน
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
เช่น สวาย สะกดว่า สว + อา + ย อ่านว่า สวาย
สว่าง สะกดว่า สว + อา + ง+ ่ อ่านว่า สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ
เช่น แหวน สะกดว่า หว + แอ+ น อ่านว่า กราบ
4. ระวังคำที่มีสระ อัว เพราะจะไม่ใช่คำที่มี ว ควบกล้ำ
เช่น สวย สะกดว่า ส + อัว + ย อ่านว่า สวย
ควร สะกดว่า ค + อัว + ร อ่านว่า ควร

อักษรนำ

คือ คำที่มีพยัญชนะสองตัวเรียงกัน โดยพยัญชนะตัวแรกเป็นอักษรสูง หรืออักษรกลาง พยัญชนะตัวที่สองเป็นอักษรต่ำเดี่ยว (ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว) แล้วประสมสระเดียวกัน เวลอาออกเสียง พยัญชนะตัวแรกจะออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยัญชนะตัวหลังจะออกเสียงเหมือนมี ห นำ

ตัวอย่าง อักษรนำ
อักษรสูงนำ อ่านว่า อักษรกลางนำ อ่านว่า
ถล่ม ถะ-หล่ม ตลิ่ง ตะ-หลิ่ง
ขนาด ขะ-หนาด อร่อย อะ-หร่อย
กนก กะ-หนก จรัส จะ-หรัด

หากพยัญชนะตัวที่สองเป็นอักษรต่ำที่นอกเหนือจากตัว ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว และอักษรกลางแล้ว เวลาอ่านออกเสียง พยัญชนะตัวเเรกจะออกเสียง อะ กึ่งเสียง ส่วนพยัญชนะตัวหลังจะออกเสียงตามสระที่มาประสม เช่น

คำ อ่านว่า คำ อ่านว่า
ไผท ผะ-ไท สบาย สะ-บาย
เผชิญ ผะ-เชิน สบู่ สะ-บู่
เฉพาะ ฉะ-เพาะ ผดุง ผะ-ดุง

ถ้า ห นำ อักษรต่ำ (ทุกตัว) หรือ อ นำ ย ไม่ต้องอ่านออกเสียง อะ เช่น หมอ เหงา อยู่ อย่าง ซึ่งคำที่มี อ นำ ย มีอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

คำบาลี คำสันสฤต

1.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้

ก.พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่

พัญชนะวรรค/ฐาน
ตัวที่ 1
ตัวที่ 2
ตัวที่ 3
ตัวที่ 4
ตัวที่ 5

วรรคที่ 1 ฐานคอ






วรรคที่ 2 ฐานเพดาน






วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก






วรรคที่ 4 ฐานฟัน






วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก






ข.เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °

3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ

4.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็นตัวตาม

ตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้

ตัวอย่าง

ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา

ข้อสังเกต คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
เราตัดตัวสะกดออก เช่น

จิต มาจาก จิตต
กิต มาจาก กิจจ
เขต มาจาก เขตต
รัฐ มาจาก รัฏฐ
วัฒน มาจาก วัฑฒน
วุฒิ มาจาก วุฑฒิ


5.คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม) ,อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์)

6.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น

บาลี
สันสกฤต

ครุฬ
ครุฑ

กีฬา
กรีฑา

จุฬา
จุฑา

คำสันสกฤต มีลักษณะดังนี้

1.ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

2.ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี)

3.ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎเหมือนภาษาบาลี เช่น

บาลีใช้ สัจจ (ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม)
สันสกฤตใช้ สัตย (พยัณชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม)

4.คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์

5.คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ

6.คำว่า "เคราะห์" มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น

7.ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่งในภาษาไทย จึงมาจากภาษาสันสกฤต

เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี


ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤต

1.มีสระ 8 ตัว
1.มีสระ 14 ตัว (เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา)

2.มีพยัญชนะ 33 ตัว
มีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ)

3.มีตัวสะกดตัวตามตามกฎ
3.มีตัวสะกดตัวตามไม่ตามกฎ

4.ไม่นิยมตัวควบกล้ำ
4.นิยมตัวควบกล้ำ

5.ใช้ ฬ
5.ใช้ ฑ

6.มีคำว่า "เคราะห์"

7.มี รฺ (ร เรผะ) ซึ่งเปลี่ยนเป็น รร ในภาษาไทย

ข้อสังเกต คำบางคำใช้ ศ ษ แต่เป็นคำไทยแท้ เช่น ศอ ศอก ศึก เศิก ดาษ ดาษดา ฯลฯ

ตัวอย่างคำภาษาบาลี

กิจ ทัณฑ์ ยาน มัชฌิม พิมพ์ ขัณฑ์ ขันธ์ ขัตติยา บุญ นิพพาน วิชา วุฒิ สามัญ อัคคี สัญญาณ
มัจฉา มเหสี อุตุ อักขร อัชฌาศัย ขณะ ปัจจุบัน อิตถี อัตถุ อัจฉรา ภริยา อิทธิ ปกติ วิตถาร
ปัญญา กัญญา กัป

ตัวอย่างภาษาสันสกฤต

กษัตริย์ อัศวะ ขรรค์ คฤหัสถ์ บริบูรณ์ อธิษฐาน สวรรค์ ศึกษา วิทยุ นิตย์ ทฤษฎี ปราโมทย์
ไอศวรรย์ จักร อาศัย ปราศรัย วิเศษ มรรค มัธยม สถาปนา ปรัชญา อมฤต สถาน จักษุ รัศมี
ภรรยา บุษบา กัลป์ ราษฎร บุญย ศรี

คำสมาสและคำสนธิ

คำสมาส

คำสมาส การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้

๑. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส ตัวอย่างคำสมาส บาลี+บาลี อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล สันสกฤต+สันสกฤต แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา

๒. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น วัฒน+ธรรม = วัฒนธรรม สาร+คดี = สารคดี พิพิธ+ภัณฑ์ =พิพิธภัณฑ์ กาฬ+ปักษ์ = กาฬปักษ์ ทิพย+เนตร = ทิพยเนตร โลก+บาล = โลกบาล เสรี+ภาพ = เสรีภาพ สังฆ+นายก = สังฆนายก


๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา


๔. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ) หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ) คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู) สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว)= สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)

ความหมาย สมาสเป็นวิธีการสร้างคำโดยการนำคำบาลีหรือสันสกฤต

ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน (เรียงต่อกันหรือนำมาชนกันนั่นเอง)

หลักการสังเกต

๑. คำสมาสต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ (ะ) หรือเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ )
๔. การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
๕. คำ "พระ" ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
๖. คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส

จำง่าย ๆ ... "สมาส - ชน"

ตัวอย่างคำสมาส

กายกรรม กายสิทธิ์ กาลกิริยา กาลเทศะ กาฬโรค กิตติคุณ กิตติศัพท์ กิจวัตร กิจจะลักษณะ กุลบุตร กุลสัมพันธ์ เกียรติศักดิ์ ขันติธรรมคชกรรม คชศาสตร์ คณิตศาสตร์ คนธรรพวิวาห์ คัมภีรภาพ คุณธรรม คุณวิเศษ คุณภาพ คุณลักษณะ คุณวุฒิ จตุปัจจัย จตุบท จตุโลกบาล จตุสดมภ์ ธรรมจริยา พุทธจริต จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส จักรพรรดิ จักรราศี จันทรคติ นครบาล จิตรกร จินตกวี จุฑารัตน์จุลทรรศน์ จุลภาค จุฬาลักษณ์ เจดียสถาน ฉกกษัตริย์ ฉัตรมงคล ฉันทลักษณ์ ฉัพพรรณรังสี ชนมพรรษา ชมพูทวีป ชลธาร ชลประทาน ชลมารค ชัยภูมิ ดุษฎีบัณฑิต ตรีคูณ ไตรปิฎก เถรวาท ทรกรรม ทรชน ทวารบาล ทัณฑฆาต ทิพยจักษุ ทุกขลาภ ธนบัตร ธรรมขันธ์ ธรรมจริยา รัตติกาล รัตนบัลลังก์ ราชหัตถเลขา รูปพรรณ ลหุโทษ วิจารณญาณ วิญญูชน ศุภนิมิต เศรษฐกิจ สถานการณ์ สาธารณสุข สามนตราช อดีตกาล

อดีตชาติ อรรถกถา อริยบุคคล อรรธจันทร์


คำสนธิ

คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง

๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น วิทย+อาลัย = วิทยาลัย พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ มหา+อรรณพ= มหรรณพ นาค+อินทร์ = นาคินทร์ มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์ พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส ธนู+อาคม= ธันวาคม

๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น รหสฺ + ฐาน= รโหฐาน มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ) ทุสฺ + ชน = ทุรชน นิสฺ + ภย = นิรภัย


๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น สํ + อุทัย = สมุทัย สํ + อาคม = สมาคม สํ + ขาร = สังขาร สํ + คม = สังคม สํ + หาร = สังหาร สํ + วร = สังวร

ความหมาย คำสนธิ เป็นการนำคำมูลที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต

ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มาเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ

สระ หรือนิคหิตที่เชื่อม ให้ท้ายเสียงของคำหน้ากับต้นเสียงของคำหลัง
 
มีเสียงกลมกลืนกันเป็นคำใหม่

หลักการสังเกต

๑. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
๒. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
๓. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
๔. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ

จำง่าย ๆ ... "สนธิ - เชื่อม"

ตัวอย่างคำสนธิ

พุทธานุภาพ มหรรณพ มหัศจรรย์ เทศภิบาล วิทยาคม ภัณฑาคาร พันธนาการ ปริยานุช รัฏฐาภิบาล ราโชวาท โลกาธิบดี โลกาธิปไตย วชิราวุธ วัตถาภรณ์ วันทนาการ นาคินทร์ มหินทร์ ราเมศวร มหิทธิ ปรมินทร์ ปรเมนทร์ รัชชูปการ มัคคุเทศก์ ราชูปโภค ราชูปถัมภ์ชโลทร มโหสถ พุทโธวาท อเนก มโหฬาร กรินทร์ ไพรินทร์ รังสิโยภาส อัคโยภาส สามัคยาจารย์ ราชินยานุสรณ์ จตุปาทาน คุรูปกรณ์ ธันวาคม จักขวาพาธ รโหฐาน มโนภาพ ทุรชน สมุทัย สมาคม สมาจาร สโมสร สังขาร สังคม สัญจร สัณฐานกินนร สันธาน

สัมผัส สังวร สังโยคสังสรรค์

คำเป็น คำตาย

คำเป็น
1. คำประสมด้วยสระเสียงยาว ในแม่ ก กา
รวมทั้งสระเสียงสั้น อำ ใอ ไอ เอา
2. คำที่สะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว
ตัวอย่างคำเป็น มา / ทำไม / ของ / คน / / สาย / กาว
คำตาย
1. คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในแม่ ก กา
ยกเว้น สระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา
2. คำที่สะกดในแม่ กก กด กบ
ตัวอย่างคำตาย จะ / มัก / สัตว์ / ตับ
คำครุ/คำลหุ
คำครุ – คำลหุ คือ คำที่มีเสียงหนักเบาต่างกัน ซึ่งจำเป็นมากในการแต่งฉันท์
1. คำครุ ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา รวมทั้ง
สระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา
2. คำที่สะกดในทุกมาตรา


คำลหุ
1. ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา ยกเว้น
สระเสียงสั้น อำ ใอ ไอ เอา
2. ต้องไม่มีตัวสะกด


คำอุปมา – อุปไมย
คำอุปมาอุปไมย หรือ คำเปรียบเทียบ เป็นคำในภาษาไทยที่สั้น กะทัดรัด และนิยมพูดกันในชีวิตประจำวัน
1. เป็นคำพูดในเชิงต่อว่าหรือเปรียบเปรย (ทั้งในทางดีทางร้าย)
2. โดยผู้พูดยกเอาสิ่งแวดล้อมมาเทียบเคียงให้ผู้ฟังเห็นจริงไปตามนั้น
3. มักจะมีคำว่า เป็น/เหมือน/อย่าง/เท่า/ราวกับ
ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อม
เช่น งงเป็นไก่ตาแตก หมายถึง ไม่รู้จริง
ใจดำเหมือนอีกา หมายถึง ใจร้าย เห็นแก่ตัวมาก
ในดีราวกับพระ หมายถึง มีใจเมตตา กรุณา


คำคล้องจอง
หมายถึง คำที่พูดให้คล้องจองกัน ที่แสดงให้เห็นถึงเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
เ ช่น กินลมชมวิว หมายถึง นั่งรถเที่ยว
คนละไม้คนละมือ หมายถึง ต่างคนต่างช่วยกันทำ
คนดีผีคุ้ม หมายถึง คนทำดีย่อมไม่มีภัย


คำพ้องรูปและพ้องเสียง
คำพ้องเสียง คือ คำที่มีเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน
เช่น กาน หมายถึง ตัดให้เตียน, ควั่น
การ หมายถึง งาน, ธุระ
กาล หมายถึง เวลา, ครั้งคราว
โจท หมายถึง โพนทะนาความผิด
โจทย์ หมายถึง คำถามในการคำนวณ
จันทร์ หมายถึง ดวงเดือน, ดวงจันทร์
จัน หมายถึง ชื่อต้นไม้ ผลสุกสีเหลือง (ต้นจัน)


คำพ้องรูป คือ คำที่มีรูปเหมือนกันแต่การออกเสียงและความหมายต่างกัน
เช่น กาก กาก หมายถึง เศษ, เดน, ของเหลือ
กา – กะ หมายถึง กา (นก)
พล ี พลี หมายถึง การบวงสรวงขอแบ่งเอามา
พะ – ลี หมายถึง มีกำลัง


การใช้คำบุพบท
แก่ / แด่
แก่ ใช้คำนำหน้านามฝ่ายรับ เช่น
- ให้เงินแก่เด็ก
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรแก่ประชาชน


แด่ ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ (ใช้ในที่เคารพ) เช่น
- พุทธศาสนิกชนถวายอาหาร แด่ พระภิกษุสงฆ์
- ประชาชนถวายพระพร แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


กับ/ต่อ
กับ ใช้เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกัน หรือเกี่ยวข้องกัน เช่น
- กิน กับ นอน
- ฟ้า กับ ดิน
- หายวับไปกับตา
ต่อ ใช้ในความติดต่อ เฉพาะ ประจันหน้า เช่น
- เขาทำความผิดต่อหน้าต่อตา
- ยื่นต่ออำเภอ
- การกระทำของเขาขัดต่อกฎหมาย


ด้วย/โดย
ด้วย ใช้นำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้ หรือเป็นสิ่งที่ใช้เครื่องมือในการกระทำ เช่นฟัน ด้วย มีด
โดย ใช้นำหน้าบทในความหมายตาม เช่น
- เขาไปสิงคโปร์ โดย รถยนต์
- ประชาชนบริจาคเงิน โดย เสด็จพระราชกุศล
แต่/จาก
แต่ ใช้นำหน้าบอกเวลา บอกสถานที่ เช่น
- เขามาทำงานแต่เช้า
- แต่ไหนแต่ไรมา
- มา แต่ ภูเขา
จาก ใช้นำหน้าแสดงบทการห่างพ้นออกไป (กริยา)
นำหน้าบอกต้นทางที่มา (บุรพบท)
เช่น - จากลูกจากเมีย (กริยา)
- เขามาจากจังหวัดหนองบัวลำภู (บุรพบท)


ของ/แห่ง
ของ ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้ครองครอง เช่น
- ดินสอ ของ ฉัน
แห่ง ใช้นำหน้าแสดงความเป็นเจ้าของที่เป็นหมวดหมู่
เช่น - หอสมุด แห่ง ชาติ
- โขลง แห่ง ช้าง

พยัญชนะ

พยัญชนะไทย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ รูปพยัญชนะ และ เสียงพยัญชนะ

พยัญชนะไทย มี ๔๔ รูป แต่มีเสียงเพียง ๒๑ เสียง เพราะบางรูปจะมีเสียงซ้ำกันดังนี้

พยัญชนะ ทั้ง ๔๔ รูป แบ่งออกเป็น ๓ หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ได้แก่
๑. อักษรกลาง คือพยัญชนะที่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบทั้ง ๕ เสียง มีทั้งหมด ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
๒. อักษรสูง คือพยัญชนะที่ ผันได้ไม่ครบทั้ง ๕ เสียง มี ๑๑ ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

๓. อักษรต่ำ คือ พยัญชนะที่ผันได้ไม่ครบ ๕ เสียง มีทั้งหมด ๒๔ ตัว โดยแบ่งเป็น ๒ พวกคือ

อักษรต่ำคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ

อักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่มีเสียงต่างกับอักษรสูง มี ๑๐ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว

การแบ่งพยัญชนะออกเป็น ไตรยางศ์ หรือ อักษร ๓ หมู่ เพื่อเป็น ประโยชน์และง่ายแก่การผันเสียงวรรณยุกต์
 
หน้าที่ของพยัญชนะ
 
๑. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียง สามารถอยู่ต้นพยางค์ หรือ ต้นคำได้ทั้งหมด
พยัญชนะต้นแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ
๑.๑ พยัญชนะต้นตัวเดียว พยัญชนะต้นเดี่ยว ) หมายถึง พยางค์หรือคำที่มีพยัญชนะต้นเพียงตัวเดียว
เช่น ก้อย รัก โดม มาก จะมี ก ร ด เป็นพยัญชนะต้น
๑.๒ พยัญชนะต้นสองตัว พยัญชนะต้นคู่ ) หมายถึงพยางค์หรือคำที่มีพยัญชนะ ต้น ๒ ตัว แบ่งเป็น
๑.๒.๑ อักษรควบ หมายถึงพยางค์หรือคำ ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวควบกัน ( ตัวที่มาควบได้แก่ ร ล ว ) แบ่งเป็น
อักษรควบแท้ คือ พยางค์ หรือ คำ ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวเป็นพยัญชนะต้น ตัวหลังเป็น เป็น ร ล หรือ ว
ประสมด้วยสระเดียวกันอ่านออกเสียง พร้อมกันทั้ง ๒ ตัว เช่น ครู กวาด พริก ขวักไขว่ ครื้นเครง ปลุกปลอบ ควาย ขวิด กวาง ฯลฯ
อักษรควบไม่แท้ คือ พยางค์ หรือ คำ ที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ตัวหลัง เป็น ร ประสมสระเดียวกัน
แต่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าตัวเดียว หรือ ออกเสียงเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น เช่น
ออกเสียงตัวเดียว ได้แก่ จริง ( จิง ) เศร้า ( เส้า ) สร้อย ( ส้อย ) ฯลฯ
ออกเสียงเป็นเสียงอื่น ได้แก่ ทราบ ( ซาบ ) ไทร ( ไซ )
ทรุดโทรม (ซุดโซม ) อินทรีย์ ( อินซี )
๑.๒.๒. อักษรนำ – อักษรตาม หมายถึง คำ ที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมด้วย สระเดียวกัน แต่ อ่านออกเสียงเป็น ๒ พยางค์ พยางค์หน้า
หรือ อักษรนำ ออกเสียงสระ อะ กึ่งมาตรา พยางค์หลัง หรือ อักษรตาม ออกเสียงตาม สระที่ประสมอยู่ เช่น
สนุก ( สะ – หนุก ) ขนม ( ขะ – หนม ) ไฉน ( ฉะ – ไหน )
ตลาด ( ตะ – หลาด ) จรัส (จะ-หรัด)

ข้อสังเกต อักษรนำ – อักษรตามที่มีอักษรสูง ( ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ) หรืออักษรกลาง ( ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ) นำอักษรต่ำเดี่ยว
ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ ) จะอ่านออกเสียงพยางค์ที่ ๒ เหมือนมี ห นำ
ข้อยกเว้น
๑. อ นำ ย เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก
๒. ห นำ ย ญ เช่น หย่า ใหญ่ หญ้า
๓. ห นำ ร ล ว เช่น หรูหรา หลาย แหวน
ให้อ่านออกเสียงพยางค์เดียว
๒. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ ( ตัวสะกด )
พยัญชนะ ๔๔ รูป ใช้เป็นตัวสะกดได้เป็นส่วนมาก ( ที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดได้แก่ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
มี ๘ มาตราหรือ ๘ แม่คือ
๑. เสียง ง หรือ แม่กง ใช้ ง เป็น ตัวสะกด เช่น จริง ซุง คลอง
๒. เสียง ม หรือ แม่กม ใช้ ม เป็นตัวสะกด เช่น ชม คลุม โดม
๓. เสียง ย หรือ แม่เกย ใช้ ย เป็นตัวสะดก เช่น สวย เลย กาย
๔. เสียง ว หรือ แม่เกอว ใช้ ว เป็นตัวสะกด เช่น หิว ขาว เขย
๕. เสียง ก หรือ แม่ กก ใช้ ก กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด เช่น ปาก จักร เลข
๖. เสียง บ หรือ แม่ กบ ใช้ บ ป ปร ฟ พ ภ เป็นตัวสะกด เช่น เก็บ กราฟ โลภ ภพ
๗. เสียง ด หรือ แม่กด ใช้ ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ
ถ ท ทร ธ ธิ ศ ศร ษ ส เช่น โดด เพชร วุฒิ ครุฑ กบฎ
๘. เสียง น หรือ แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น กิน หาญ นคร กาฬ
 
ข้อสังเกต พยัญชนะที่ประสมด้วยสระแล้วไม่มีตัวสะกด เช่น ปลา ไป ที่ สระ น้ำ คำ เหล่านี้ เรียกว่า แม่ ก.กา
๓. ทำหน้าที่เป็นตัวการันต
ตัวการันต์ คือพยัญชนะท้ายพยางค์ที่มีเครื่องหมาย ทัณฑฆาต กำกับ ไม่ต้องอ่านออกเสียง
เช่น บัลลังก์ จันทร์ สิทธิ์ พันธ์ พระลักษณ์ ฯลฯ