๒. -ั (ไม้ผัด, ไม้หันอากาศ) ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนเสียงสระอะเมื่อมีตัวสะกด เช่น มัด และประสมกับสระรูปอื่น เช่น ตัว ผัวะ
๓. -็ (ไม้ไต่คู้) ใช้ เขียนไว้บนพยัญชนะที่ประสมกับรัสสระที่มีวิสรรชนีย์ เพื่อแทนวิสรรชนีย์เมื่อมีตัวสะกด เช่น เจ็ด (เจะ+ด) และใช้แทนสระเอาะที่มีวรรณยุกต์โท ที่มีคำเดียวคือคำว่า ก็ (เก้าะ )
๔. า (ลากข้าง) ใช้เป็นสระอา สำหรับเขียนหลังพยัญชนะและใช้ประสมกับรูปสระรูปอื่นเป็นสระ เอาะ อำ เอา เช่น เกาะ ลำเพา
๕. -ิ (พินทุ์อิ) ใช้เป็นสระอิ สำหรับเขียนไว้บนพยัญชนะ เช่น ซิ ผลิ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระ อี อือ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เช่น ผี คือ เกี๊ยะ เสีย เสือ
๖. -่ (ฝนทอง) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิ ทำให้เป็นสระอี เช่น ผี มี ปี
๗. " (ฟันหนู) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิเป็นสระอือ เอือะ เอือ เช่น มือ เสือ
๘. -ํ (หยาดน้ำค้าง, นฤคหิต) ใช้เขียนไว้ข้างบนลากข้าง ทำให้เป็นสระอำ ( ำ) และเขียนบนพินทุ์อิเป็นสระอึ เช่น จำนำ ปรึกษา ศึกษา
๙. -ุ (ตีนเหยียด) ใช้เป็นสระอุ เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะ เช่น ดุ
๑๐. -ู (ตีนคู้) ใช้เป็นสระอู เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะต้น เช่น ปู งู ดู
๑๑. เ- (ไม้หน้า) ใช้เป็นสระเอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น เกเร ถ้าใช้สองรูปด้วยกันจะเป็นสระแอ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระอื่น เช่น เอือ เอา เออะ เอียะ เอีย เอาะ แอะ
๑๒. ใ- (ไม้ม้วน) ใช้เป็นสระใอ สำหรับเขียนไว้หน้าพยัญชนะ เช่น ใคร ใต้ ฯลฯ
๑๓. ไ- (ไม้มลาย) ใช้เป็นสระไอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไฟไหม้ ฯลฯ
๑๔. โ- (ไม้โอ) ใช้เป็นสระโอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น โมโห ใช้ประสมกับวิสรรชนีย์ทำให้เป็นสระ โอะ เช่น โละ โปะ
๑๕. ฤ (ตัวรึ)ใช้ เป็นสระ ฤ จะใช้โดดๆ เช่น ฤดี หรือจะใช้ประสมกับพยัญชนะ (ต้องเขียนไว้หลังพยัญชนะ) และออกเสียงสระได้หลายเสียง ออกเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณา ออกเสียงเป็น รึ เช่น ฤดู ฤทัย พฤกษ์ ออกเสียงเป็น เรอ เช่น ฤกษ์
๑๖. ฤๅ (ตัวรือ) ใช้เป็นสระ ฤๅ ใช้โดดๆ เช่น ฤๅไม่ หรือใช้เป็นพยางค์หน้าของคำ เช่น ฤๅดี
๑๗. ฦ (ตัวลึ) ใช้เป็นสระ ฦ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๘ . ฦๅ (ตัวลือ) ใช้เป็นสระ ฦๅ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๙. ย (ตัวยอ) ใช้ประสมกับสูปสระรูปอื่น ทำให้เป็นสระอื่น เช่น สระเอีย เอียะ
๒๐. ว (ตัววอ) ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เป็นสระ อัวะ อัว
๒๑. อ (ตัวออ) ใช้เขียนหลังพยัญชนะเป็นสระ ออ และประสมกับรูปสระรูปอื่น เป็นสระ อือ เออะ เอือะ เอือ
วิธีใช้สระ
เมื่อพยัญชนะประสมกับสระและมีตัวสะกด จะมีวิธีใช้สระหลายวิธี ดังนี้
๑. คงรูป คือเขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -ิ, -ี, -ึ, -ุ, -ู , เ- , แ- , โ- , -อ , เ -ีย , เ -อ
ก + -า + ง = กาง
ด + - ิ + น = ดิน
ห + -อ + ม = หอม
ม + แ- + ว = แมว
๒. แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ , เ-ะ , แ-ะ , เ-อ
ร + -ะ + บ = รับ (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ)
ล + เ-ะ + ก = เล็ก (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม่ไต่คู้)
ข + แ-ะ + ง = แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)
ด + เ-อ + น = เดิน (แปลงตัวออเป็นพินทุ์อิ)
๓. ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลด
รู
นั้น การลดปมี ๒ วิธีคือ
๓.๑ ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ เช่น
บ + โ-ะ + ก = บก
ก + -อ + ร = กร (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)
๓.๒ ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น
ค + เ-อ + ย = เคย (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า เช่น เชย เชย เลย เกย เอย เนย เงย )
ส + - ั ว + น = สวน (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว เช่น กวน ลวน นวล ชวน ควร มวน อวน หวน)
๔. เติมรูป คือ เพิ่มรูปนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ -ื ที่ใช้ ในแม่ ก กา จะเติม -อ เช่น
๕. ลดรูปและแปลงรูป
ก + เ-าะ + -้ = ก็
ล + เ-าะ + ก = ล็อก
สระที่มีตำแหน่งอยู่บนหรือล่างของพยัญชนะ ต้องเขียนตรงกับเส้นหลังของพยัญชนะต้นเสมอ
ตำแหน่งรูปสระ
รูปสระ ๒๑ รูป เมื่อประสมกับพยัญชนะต้น จะวางไว้ในตำแหน่งที่ต่าง ๆ ดังนี้
๑. สระหน้า เป็นสระที่วางอยู่หน้าพยัญชนะต้น เช่น เ- แ- โ- ไ- ใ-
ตัวอย่างเช่น เกเร แม่ แก่ โต ไม้ ใช้ ใกล้
๒. สระหลัง เป็นสระที่วางอยู่หลังพยัญชนะต้น เช่น -ะ -า -อ ฤ -ว
ตัวอย่างเช่น พระ มารดา พ่อ ฤกษ์ กวน
๓. สระบนหรือสระเหนือ เป็นสระที่วางอยู่บนพยัญชนะต้น เช่น -ั -ิ -ี -ึ -ื -็
ตัวอย่างเช่น กัด กิน ขีด ปรึกษา ขืน ก็
๔. สระใต้หรือสระล่าง เป็นสระที่วางไว้ใต้พยัญชนะต้น เช่น -ุ -ู ตัวอย่างเช่น หมู หนู ดุ พลุ
๕. สระหน้าและหลัง เป็นสระที่วางไว้หน้าและหลังพยัญชนะต้น เช่น เ-า แ-ะ โ-ะ เ-ะ เ-าะ เ-อะ เ-อ
ตัวอย่างเช่น เมาเหล้า เจอะเจอ โต๊ะ เละเทะ เกาะเงาะเยอะแยะ
๖. สระบนและหลัง เป็นสระที่วางไว้บนและหลังพยัญชนะต้น เช่น -ัวะ -ัว -ำ
ตัวอย่างเช่น ลัวะ กลัว จำนำ
๗. สระหน้า บนและหลัง เป็นสระที่วางอยู่หน้า บน และหลังพยัญชนะต้น เช่น เ-ียะ เ-ย เ-ือะ เ-ือ
ตัวอย่างเช่น เกี๊ยะ เมีย เสือ
๘. สระหน้าและบน เป็นสระที่วางไว้หน้าและบนพยัญชนะต้น เช่น เ-ิ เ-็
ตัวอย่างเช่น เกิด เกิน เป็ด เช็ด
๙. สระที่อยู่ได้ตามลำพัง ไม่ต้องประสมกับพยัญชนะต้น เช่น ฤ ฤ
การใช้รูปสระ
สระ ๒๑ รูป ใช้เขียนแทนเสียงสระ ๓๒ เสียง บางเสียงใช้สระรูปเดียว บางเสียงใช้สระหลายรูปประกอบกันดังนี้ี้
No comments:
Post a Comment
Add your comment here.