ชนิดของวลีตามแนวหลักภาษาเดิม มี ๗ ชนิดดังนี้
๑.๑ นามวลี หมายถึง วลีที่มีคำนามนำหน้า เช่น
ถนนสายหนึ่ง พระรูปที่ ๕
จังหวัดนครพนม นาฬิกาข้อมือเรือนทอง
ชาวเมืองสกลนคร อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์
๑.๒ สรรพนามวลี หมายถึง วลีที่มีคำสรรพนามนำหน้า หรือ วลีที่ทำหน้าที่เป็นคำสรรพนาม เช่น
ข้าพเจ้า ข้าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า
ใต้เท้า ใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
พระองค์ ท้าวเธอ
๑.๓ กริยาวลี หมายถึง วลีที่มีคำนำหน้า โยมีความหมายเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น
นั่งร้องเพลง ทำงานหนัก
เป็นหนังหน้าไฟ หวังแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว
ถึงแก่กรรม เสด็จสวรรคาลัยสุรโลก
๑.๔ วิเศษณ์วลี หมายถึง วลีที่มีคำวิเศษณ์นำหน้า และทำหน้าที่ประกอบคำอื่นอย่างเดียวกับคำวิเศษณ์อาจประกอบนาม ขยายกริยา ขยายวิเศษณ์ด้วยกันเองก็ได้ เช่น
ช้างสามเชือก (ขยายนาม)
เราสามคน (ขยายสรรพนาม)
เขากินข้าวจุเหลือประมาณ (ขยายกริยา)
เขาคงงามเลิศเหลือประมาณ (ขยายวิเศษณ์ซึ่งทำหน้าที่เป็นกริยา)
๑.๕ บุพบทวลี หมายถึง วลีที่มีคำบุพบทอยู่หน้าคำอื่น อาจอยู่หน้าคำอื่น อาจอยู่หน้าคำนาม สรรพนามหรือกริยา สภาวมาลา เช่น
ข้าแต่สมาชิกทั้งหลาย (นำหน้านาม)
ข้าแต่ท่านทั้งหลาย (นำหน้าสรรพนาม)
เพื่อชมเล่น (นำหน้ากริยาสภาวมาลา)
๑.๖ สันธานวลี หมายถึง วลีที่ทำหน้าที่เป็นคำสันธาน คือทำหน้าที่เชื่อมคำ เชื่อมความ เชื่อมประโยค เช่น
เขามีความรักในลูกและเมีย
ถึงฝนตกฉันก็จะไป
เพราะฉะนั้น เขา จึง ต้องไปหาหมอ
กรณีคำสันธานที่แยกออกจากกัน เพื่อเชื่อมความให้ติดต่อกัน เรียกว่า สันธานคาบเกี่ยว
๑.๗ อุทานวลี หมายถึง วลีที่ใช้เป็นคำอุทาน จะมีคำอุทานนำหน้าหรือไม่ก็ได้ เช่น
โอ้อกเอ๋ย โอ๊ยตายแล้ว โอพระเวสสันดร
เวรเอ๋ยเวร อนิจจาความรักเอ๋ย
ประโยค
๑.แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของประโยค มี ๓ ชนิด ดังนี้
๑.๑ ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงข้อความเดียว เช่น
โอ้โฮ ฝนตกมากจัง
ฉันชอบอากาศชายทะเล
เขาเป็นบุตรชายคนโตของฉัน
๑.๒ ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความเดียวเหล่านั้น แบ่งออกเป็น ๔ ชนิดดังนี้
ก. ประโยคความรวมที่มีข้อความคล้อยตามกัน โดยใช้สันธาน และ,กับ, แล้ว…จึงพอ…ก็ ฯลฯ เชื่อมประโยคเช่น
เขาไปทำงานแล้วเขาจึงกลับบ้าน
พอดนตรีบรรเลง ตัวละครก็เต้นระบำออกมา
ข. ประโยคความรวมที่มีข้อความขัดแย้งกันโดยใช้ สันธาน แต่, แต่ทว่า,ถึง…ก็,ถึง…แต่..ก็ ฯลฯ เชื่อมประโยค เช่น
น้ำขึ้น แต่ลมลง
เขาเคยเห็น แต่ทว่า เขาไม่รู้จัก
ถึงผมจะจนทรัพย์ แต่ ก็รวยน้ำใจ
ค. ประโยคความรวมที่มีข้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้สันธานหรือ ,มิฉะนั้น , ไม่เช่นนั้น , ไม่อย่างนั้น , หรือไม่ก็ ฯลฯ เชื่อมประโยค เช่น
คุณจะอยู่หรือจะไป
คุณต้องเลิกเที่ยวกลางคืน มิฉะนั้น คุณอายุสั้น
นักเรียนทุกคนต้องทำงาน หรือไม่ก็นอนเสีย
ง. ประโยคความงามที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลแต่กัน โดยมีสันธาน จึง, ฉะนั้นดังนั้น, เพราะ…จึง , เพราะนั้น….จึง ฯลฯ เชื่อมประโยค เช่น
เขามัวคิดถึงแต่คนรัก จึงสอบไล่ตก
เขาเล่นกีฬาทุกเช้า ดังนั้นร่างกายจึงแข็งแรง
เพราะเขาพูดเพราะ คนจึงรักเขา
๑.๓.ประโยคความซ้อน คือ ประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปรวมกันแต่มีประโยคหลักหรือประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคอื่นทำหน้าที่แต่ง
หรือประกอบประโยคหลักดังนั้นประโยคความซ้อนจะประกกอบด้วยประโยค ๒ ชนิด คือ
ก.มุขยประโยค หมายถึง ประโยคหลักหรือประโยคที่มีใจความสำคัญซึ่งจะขยายไม่ได้และมีได้เพียงประโยคเดียวต่อหนึ่งประโยคความซ้อนเท่านั้น เช่น
เขามีหนังสือที่ฉันไม่มี
เขาอ่อนเพลียจนเขาต้องพักผ่อน
คนที่ปรารถนาความสุขจะต้องมีหลักธรรมประจำใจ
ข.อนุประโยค หมายถึง ประโยคที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ความดีขึ้นแบ่งออกเป็น๓ชนิด คือ
(๑) นามานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่คล้ายคำนาม คือ อาจเป็นบทประธาน บทกรรมหรือบทขยายก็ได้ เช่น
เขาพูดเช่นนี้ เป็นการส่อนิสัยชั่ว ( บทประธาน )
ฉันเห็นเด็กเรียนหนังสือ ( บทกรรม )
อาหารสำหรับนักเรียนเล่นละคร มีอยู่ในห้อง ( บทขยาย )
(๒) คุณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ประกอบนามหรือสรรพนามโดยใช้ประพันธสรรพนาม ที่ ซึ่ง อัน เป็นบทเชื่อม เช่น
ฉันรักคนไทยซึ่งรักชาติไทย
คนโง่ซึ่งรวมอยู่กับนักปราชญ์
บทเพลงอันไพเราะเพราะพริ้งเริ่มบรรเลงแล้ว
(๓) วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันอันเป็นส่วนหนึ่งของประโยคสำคัญ เช่น
เขาดีจนฉันเกรงใจ
เขามีความรู้ เพราะเขาอ่านหนังสือมาก
ฉันมา เมื่อเธอหลับ
๒.แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยค หมายถึง ประโยคที่แบ่งตามลักษณะการใช้ของผู้พูด มีหลายชนิดเช่น
ก. ประโยคบอกเล่า หรือประโยคแจ้งให้ทราบ คือประโยคที่ผู้พูดต้องการแจ้งเรื่องราวต่างๆให้ผู้ฟังทราบ เช่น
วัฒนธรรมไทย คือหัวใจของชาติ
ปีนี้ ฝนตกชุกมากในจังหวัดสกลนคร
ข. ประโยคคำถาม หรือประโยคความโต้ตอบ คือประโยคที่ผู้พูดใช้ถามผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังตอบให้ทราบในสิ่งที่ต้องการทราบ เช่น
ผมจะไปพบคุณได้ที่ไหน
คุณเคยไปจังหวัดเชียงใหม่ไหม
คุณวันเพ็ญไม่นั่งก่อนหรือครับ
ค. ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่ผู้พูดกล่าวปฏิเสธหรือไม่ยอมรับเมื่อมีผู้ถามคำถาม เช่น
เปล่าผมไม่ได้พบคุณวันวันเพ็ญตั้งนานแล้ว
ผมไม่เคยไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่เลย
ฉันไม่ยอมรับข้อเสนอของคุณหรอก
ง. ประโยคอ้อนวอนหรือขอร้อง หรือประโยคบอกให้ทำ คือ ประโยคที่ผู้พูดอ้อนวอนหรือขอร้องให้ผู้ฟังปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น
ผมขอความกรุณาจากท่าน โปรดช่วยลูกชายผมด้วย
โปรดเดินบนทางเท้า
No comments:
Post a Comment
Add your comment here.