คือ เครื่องหมายที่เขียนกำกับไว้บนคำ เเล้วทำให้เสียงและความหมายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม
วรรณยุกต์แบ่งเป็น รูปวรรณยุกต์ ๔ รูป และเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา การวางรูปวรรณยุกต์ จะวางไว้บนพยัญชนะต้นของคำ เช่น ป้า เข่า จ๋า นุ่น แต่ถ้าคำนั้นมีพยัญชนะต้น ๒ ตัว จะวางรูปวรรณยุกต์ไว้บนพยัญชนะต้นตัวที่สอง เช่น กล้อง หญ้า คว่ำ แพร่
ตัวอย่าง การจำแนกคำตามเสียงวรรณยุกต์
เสียงสามัญ = กา ปู ลำไย ชาม เรือ ยาดี
เสียงเอก = ปั่น กบ ประดู่ หาด แหย่ ขัด
เสียงโท = ตู้ ท่อง อ้ำ สู้ ห้า ยั่ว
เสียงตรี = น้อง ง้าง เกี๊ยว นก ร้อน รัก
เสียงจัตวา = หาม ขาว เดี๋ยว หัว หมู ป๋า
ข้อสังเกต บางคำอาจมีรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกับเสียง เช่น
- หัก ไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่ออกเสียงเป็น เสียงเอก
- เล่า มีรูปวรรณยุกต์เอก เเต่ออกเสียงเป็น เสียงโท
การผันวรรณยุกต์ คือ การเปลี่ยนเสียงของคำไปตามเสียงวรรณยุกต์ต่างๆ เเละทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม
การผันวรรณยุกต์กับอักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์ ผันได้ ดังนี้
๑. การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลาง ผันได้ครบ ๕ เสียง
๒. การผันวรรณยุกต์กับอักษรสูง ผันได้ ๓ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป
รูป อ่ เป็นเสียง เอก
รูป อ้ เป็นเสียง โท
ไม่มีรูป เป็นเสียง จัตวา
๓. การผันวรรณยุกต์กับอักษรต่ำ ผันได้ ๓ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป
รูป อ่ เป็นเสียง โท
รูป อ้ เป็นเสียง ตรี
ไม่มีรูป เป็นเสียง สามัญ
ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์
ไตรยางศ์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
อักษรกลาง เกา เก่า เก้า เก๊า เก๋า
อักษรสูง - เข่า เข้า - เขา
อักษรต่ำ เลา - เล่า เล้า -
ในการผันวรรณยุกต์กับอักษรสูงและอักษรต่ำ จะผันได้ ๓ เสียง แต่ก็สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงเหมือนอักษรกลางได้ โดยใช้อักษรต่ำคู่
อักษรต่ำคู่
อักษรต่ำคู่ หมายถึง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ได้แก่
อักษรต่ำคู่ อักษรสูง
ค ฆ ข
ช ฌ ฉ
ซ ศ ษ ส
ฑ ฒ ท ธ ฐ ถ
พ ภ ผ
ฟ ฝ
ฮ ห
ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์กับอักษรต่ำคู่
คำ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
เขา เขา เถ่า เท่า เถ้า เท้า เถา
เชา เชา เฉ่า เช่า เฉ้า เช้า เฉา
เคา เคา เข่า เค่า เข้า เค้า เขา
อักษรต่ำคู่ หมายถึง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ได้แก่
อักษรต่ำคู่ อักษรสูง
ค ฆ ข
ช ฌ ฉ
ซ ศ ษ ส
ฑ ฒ ท ธ ฐ ถ
พ ภ ผ
ฟ ฝ
ฮ ห
ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์กับอักษรต่ำคู่
คำ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
เขา เขา เถ่า เท่า เถ้า เท้า เถา
เชา เชา เฉ่า เช่า เฉ้า เช้า เฉา
เคา เคา เข่า เค่า เข้า เค้า เขา
อักษรต่ำเดียว
อักษรต่ำเดียว หมายถึง อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง
อักษรต่ำเดียว มี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ร ล ว ฬ ซึ่งอักษรต่ำเดี่ยวสามารถผันวรรณยุกต์ให้ครบ ๕ เสียงได้ โดยใช้ อ หรือ ห นำ
ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์กับอักษรเดี่ยว
คำ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
ยา ยา อย่า หย่า ย่า หย้า ย้า หยา
มี มี หมี่ มี่ หมี้ มี้ หมี
ลอ ลอ หล่อ ล่อ หล้อ ล้อ หลอ
อักษรต่ำเดียว หมายถึง อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง
อักษรต่ำเดียว มี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ร ล ว ฬ ซึ่งอักษรต่ำเดี่ยวสามารถผันวรรณยุกต์ให้ครบ ๕ เสียงได้ โดยใช้ อ หรือ ห นำ
ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์กับอักษรเดี่ยว
คำ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
ยา ยา อย่า หย่า ย่า หย้า ย้า หยา
มี มี หมี่ มี่ หมี้ มี้ หมี
ลอ ลอ หล่อ ล่อ หล้อ ล้อ หลอ
No comments:
Post a Comment
Add your comment here.